รูปแบบการเฝ้าระวังในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน กรณีศึกษา ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูล และ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

ผู้แต่ง

  • สายสุดา สุขแสง
  • เรวดี กระโหมวงศ์
  • วิมล งามยิ่งยวด
  • อภินันท์ โชติช่วง

คำสำคัญ:

รูปแบบการเฝ้าระวังการป้องกันและแก้ไข, ปัญหายาเสพติด, ภาคประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเฝ้าระวัง และรูปแบบในการป้องกันปัญหา
ยาเสพติด โดยภาคประชาชน ในพื้นที่ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล และตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัด
สงขลา ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาระดับการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด
กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไป ที่อาศัยอยู่ในตำบลควนรู และตำบลสาคร จำนวน 100 คน คัดเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามเกี่ยวกับการทำงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาชน
ประกอบด้วย 4 ตอน ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลสถานการณ์ เกี่ยวกับยาเสพติด ตอนที่ 3
เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะทั่วไป
การเก็บรวบรวมข้อมูลคัดเลือกตัวแทนเครือข่ายทั้งสองตำบล ได้แก่ ตำบลควนรู และตำบลสาคร เก็บข้อมูลโดย
การแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้การเลือกแบบเจาะจงตำบล ๆ ละ 50 คนรวมเป็น 100 คน
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลระดับการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด
โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารูปแบบการเฝ้าระวังการป้องกันปัญหายาเสพ
ติดโดยภาคประชาชน กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลจาก 2 ตำบล ๆ ละ 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้น??ำท้องถิ่น
ประธานองค์กรชุมชน ข้าราชการครู/อาจารย์เกษียณ กรรมการเฝ้าระวังในชุมชน และเยาวชนที่มีความรู้และ
ประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานยาเสพติดในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมี
โครงสร้าง การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เวทีการประชุมถอดบทเรียนแบบกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
โดยสรุปประเด็นสำคัญ และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.31 SD=1.37)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการเดินลาดตะเวน/ตั้งด่านตรวจรอบหมู่บ้านทุกคืน
(M=3.71, SD=4.09) รองลงมาคือ มีศูนย์รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/มีชุดรักษาความสงบของ
หมู่บ้าน (M=3.68, SD=0.99) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เยาวชน เช่น ค่ายพุทธบุตร/
การอบรม (M=2.90, SD=1.12)
2. รูปแบบการเฝ้าระวัง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน ที่สามารถป้องกัน
ปัญหา และได้ผลเป็นที่พึงพอใจของคนในชุมชนมี 4 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การเดินลาดตะเวน หรือการตั้งด่าน
ตรวจ รูปแบบที่ 2 การพูดคุยทำความเข้าใจ และเข้าถึงกลุ่มผู้เสพโดยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน รูปแบบที่ 3 การให้
ความรู้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ให้แก่แกนนำภาคประชาชน
และรูปแบบที่ 4 การจัดกิจกรรมทางเลือกให้กับกลุ่มเยาวชน

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย