การใช้ยาหลายขนานและการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จ.พัทลุง

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงษ์ รักเล่ง

คำสำคัญ:

ยาหลายขนาน, การควบคุมความดันโลหิต, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

 การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความชุกของผู้ป่วยที่ได้รับยาหลายขนาน 2) มีความชุกของผูป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ และ 3) ความสัมพันธ์ของจำนวนขนานยา ต่อการควบคุมความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจาก แพทย์ ว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และเข้ารับการรักษาในจังหวัดพัทลุง ระหว่างเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 จำนวน 26,765 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก ชุดข้อมูลมาตรฐาน 43 แฟ้ม วิเคราะห์ความชุกของผู้ป่วย ที่ได้รับยาหลายขนาน และความสามารถในการควบคุม ระดับความดันโลหิต โดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของจำนวนขนานยา ต่อการควบคุมระดับ ความดันโลหิต ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า 1. ความชุกของผู้ป่วยที่มีจำนวนขนานยาทั้งหมด มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ขนาน ร้อยละ 48.67 (M=4.89, SD=2.67) ความชุกของผู้ป่วยที่มีจำนวนขนานยาลดความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ขนาน ร้อยละ 48.66 (M=1.65, SD=0.80) 2. ความชุกของผู้ป่วยที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เท่ากับร้อยละ 67.35 3. การได้รับยาหลายขนานทั้งหมด มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการควบคุมความดันโลหิต อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.078; 95%CI: 1.015 ถึง 1.144) และการได้รับยาลดความดันโลหิตหลายขนาน มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.240; 95% CI: 1.172 ถึง 1.311) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องควรจ่ายยาตามแนวปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Downloads