ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานกับการรับรู้สุขภาพเกี่ยวกับโรคตาต้อกระจก ในผู้สูงอายุ จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง
  • ปาริฉัตร อุทัยพันธ์

คำสำคัญ:

การรับรู้สุขภาพ, ปัจจัยพื้นฐาน, ตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณานี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้สุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย พื้นฐาน ได้แก่ เพศ ศาสนา ระดับการศึกษา รายได้ และลักษณะครอบครัวกับการรับรู้สุขภาพในกลุ่มผู้ป่วย ตาต้อกระจก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 385 คน โดย วิธีสุ่มอย่างง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้สุขภาพเกี่ยวกับโรคตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ นำไปหาค่าความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธ์ อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .78 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สุขภาพ เกี่ยวกับโรคตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ใน ระดับดี (M=3.63, SD=2.71) โดยมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ด้านการรับรู้ความ รุนแรงของโรค และด้านการรับรู้อุปสรรค ในการป้องกันโรค อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.27, SD=2.78, M=3.13, SD=2.93, M=3.39, SD=2.41 ตามลำดับ) ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค อยู่ในระดับดี (M=3.68, SD=2.92) และการรับรู้แรงจูงใจในด้านสุขภาพ อยู่ในระดับดีมาก (M=4.70, SD=2.52)
  2. ปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ ระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการ รับรู้สุขภาพ เกี่ยวกับโรคตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .535, r=.418 ตาม ลำดับ) และลักษณะครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบ กับการรับรู้สุขภาพเกี่ยวกับโรคตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= -.140)

 

ควรมีการปรับแผนการดูแลผู้สูงอายุตาต้อกระจก โดยคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการรับรู้สุขภาพ เกี่ยวกับตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ และขยายผลไปสู่ผู้สูงอายุในกลุ่มอื่นๆต่อไป 

Downloads