วิถีชีวิต ความรู้ความเชื่อ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ส่งผลต่อการเกิดการเจ็บป่วย ด้วยโรคมาลาเรีย ในแรงงานต่างชาติชาวพม่า ในตำบลทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • ประเดิม มณีแดง
  • ดาราวรรณ รองเมือง
  • เพ็ญศรี ทองเพชร
  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัว
ที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ของแรงงานต่างชาติชาวพม่าที่เข้ามาอาศัย และทำงานรับจ้างในตำบล
ทรายแดง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ แรงงาน
ต่างชาติที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ ที่มีการแพร่เชื้อสูง (A2) ไม่น้อยกว่า 6 เดือน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ดำเนินการสัมภาษณ์จนข้อมูลอิ่มตัว
จำนวน 10 ราย ผ่านล่ามชาวพม่าที่พูด และเข้าใจภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยการตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล โดยตรวจสอบจาก
สิ่งสังเกตได้ การจดบันทึกภาคสนาม ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการถอดการบันทึกเสียงสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม
เชิงปริมาณ หลังจากนั้น ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำกลับไปให้ผู้ให้ข้อมูลยืนยันความถูกต้องก่อนสรุป
ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า
          กลุ่มตัวอย่างเป็น เพศชาย 7 ราย เพศหญิง 3 ราย มีอายุเฉลี่ย 29.60 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาในชั้น
ประถมศึกษา และสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างกรีดยางพารา และมีสถานภาพสมรสคู่
ครอบครัวและบุตรอยู่ด้วยกัน มีระยะเวลาการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเฉลี่ย 9.20 ปี ผู้ที่ให้ข้อมูลทั้ง 10 ราย เคย
ป่วยด้วยโรคมาลาเรียมาก่อน ซึ่งชาวพม่าที่เข้ามาทำงานรับจ้างส่วนใหญ่ จะเข้ามาอย่างไม่ถูกต้องไม่ได้ผ่านการ
ตรวจโรค โดยแรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อาศัยในบ้านที่นายจ้างสร้างให้ เป็นบ้านที่
ไม่ค่อยถาวรนัก และที่สำคัญส่วนใหญ่จะสร้างไว้ในสวนใกล้กับป่ามีแสงสว่างค่อนข้างน้อย หลับนอนในบ้านที่ไม่
ได้มีการใช้มุ้ง และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการซื้อมุ้งเนื่องจากมีรายได้น้อย เมื่อออกไปกรีดยางในตอนกลางคืนจะ
สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวเป็นบางครั้ง และไม่มีการใช้ยาทาป้องกันยุง ด้านความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับ
โรคมาลาเรีย ชาวพม่ามีความเชื่อที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคยังไม่ถูกต้อง ได้แก่
การดื่มน้ำในห้วย การรับประทานของป่า การถูกยุงดำตัวใหญ่กัด ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่

Downloads