การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • เบญจมาส เรืองดิษฐ์
  • เสาวลักษณ์ อุไรรัตน์
  • ชูลินดา สะมะแอ

คำสำคัญ:

การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองว โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับการรักษาในเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่าง
ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 40 คน ซึ่งมีค่าอัตราการกรองของ
ไตระหว่าง 30-59 ml/min/1.73 m2 (ค่าซีรั่มคริเอตินินมากกว่า 2 mg/dl) กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมดูแล
ตนเองมีระยะเวลา 6 เดือน ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองและฝึกทักษะที่จำเป็น เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง
เพื่อชะลอไตเสื่อมจากโรคเรื้อรังและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจระดับซีรั่มครีเอตินินในเลือด
แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน และความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์
แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีคู่ ผลการวิจัย
พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะไตเรื้อรัง
ระยะสุดท้ายโดยมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติด้านการบริโภคอาหาร การผ่อนคลายอารมณ์ และการออกกำลัง
กายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยทุกรายสามารถชะลอการเกิดภาวะไตเรื้อรัง
ระยะสุดท้ายจากระดับซีรั่มคริเอตินิที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็น
ว่าการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองสามารถทำผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไตชะลอความ
ก้าวหน้าของโรคและการได้รับการบำบัดทดแทนไตได้

Downloads