การพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเขตเทศบาล ต.เมืองสรวง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อารีย์ พลภูเมือง
  • กัลยา หาญพิชาญชัย
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอย, องค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอย, การมีส่วนร่วม, ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการคัดแยกมูลฝอยชุมชน ในเขต
เทศบาลตำบลเมืองสรวง 2) เพื่อพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอย แบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาผลการ
พัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอย แบบมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 335 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอย แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ได้มาจาก
การเลือกแบบเจาะจง จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบประเมินสภาพมูลฝอย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต
พฤติกรรม อุปกรณ์ภาคสนาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การประชุมกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า
1. สถานการณ์การคัดแยกมูลฝอยของประชาชน พบว่า ประเภทของขยะมูลฝอยในครัวเรือน ส่วนใหญ่
เป็นประเภทเศษอาหาร ผัก ผลไม้ คิดเป็นร้อยละ 93.5 มีการจัดการขยะมูลฝอย โดยวิธีการทิ้งลงในถังขยะของ
เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 96.4 ประเภทขยะมูลฝอย ที่ต้องการให้เทศบาลกำจัดเป็นขยะมูลฝอยอันตราย คิดเป็น
ร้อยละ 64.8 ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนนำไปกำจัด มีความจำเป็น คิดเป็นร้อยละ
100.0 แต่ต้องให้เทศบาล นำขยะมูลฝอยไปกำจัด และใช้ประโยชน์โดยนำขยะมูลฝอยไปทำปุ๋ยหมัก คิดเป็น
ร้อยละ 85.1 ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอย อยู่ในระดับสูง 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมาก
ไปหาน้อย ดังนี้ คือด้านการวางแผน (M=3.68, SD=0.62) การปฏิบัติ (M=3.67, SD=0.61) การจัดสรรผล
ประโยชน์ (M=3.94, SD=0.58) ส่วนการติดตาม และประเมินผล (M=3.66, SD=0.72) ระดับปานกลาง ด้าน
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการกระตุ้นประชาชนในชุมชน ให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก
ขยะมูลฝอย การสร้างระเบียบวินัยในการรับผิดชอบ ทั้งการสร้างและการทิ้งขยะมูลฝอย ควรมีการคัดแยก
ขยะมูลฝอยทุกครัวเรือนก่อนทิ้งในถัง เพื่อให้เทศบาลนำไปกำจัด โดยเฉพาะขยะมูลฝอยอันตราย
2. การดำเนินการพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอย ในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ทำให้ได้การพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอย
ที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน
3. ปริมาณ ขยะมูลฝอยในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนดำเนินการคิดเป็น 4.53 กิโลกรัม/ครัวเรือน/
วัน หรือคิดเป็น 1.11 กิโลกรัม/คน/วัน ขยะมูลฝอยรีไซเคิลพบมากที่สุด (ร้อยละ 52.86) และหลังดำเนินการ
พบว่า ขยะมูลฝอย 2.40 กิโลกรัม/ครัวเรือน/วัน หรือคิดเป็น 0.59 กิโลกรัม/คน/วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำรูปแบบนี้ไปปรับใช้ในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาชุมชน
ให้เกิดคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย