ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • แววใจ พ้นภัย
  • อมร ไกรดิษฐ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย, การออกกำลังกาย, บุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทำนาย และปัจจัยส่งเสริมพฤติกรรมออก
กำลังกาย บุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ดำเนินการวิจัยเป็น 2
ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอ
สิงหนคร จังหวัดสงขลา จำนวน 85 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power สุ่มตัวอย่างแบบง่าย
โดยหยิบฉลากแบบไม่คืนที่ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรม
การออกกำลังกาย ผ่านการหาค่าความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์
แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 - .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอย
เชิงพหุแบบทีละขั้นตอน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกาย เก็บข้อมูลด้วยโดยการ
สัมภาษณ์เชิงลึก บุคลากรที่มีพฤติกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมอ สุขภาพดี จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิง
เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์คุณค่าการออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=4.50, SD=0.56) รองลง
มา คือ การรับร้หู ลัก และวิธีการออกกำ ลังกาย (M=4.43, SD=0.53) ทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย (M=4.41,
SD=0.59) และปัจจัยด้านความพร้อมในการออกกำลังกายของตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (M=3.90, SD=0.71)
สำหรับพฤติกรรมการออกกำลังกายสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสิงหนคร มีพฤติกรรมออกกำลัง
กายอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.22, SD=0.84)
2. ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมออกกำลังกายของบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ
อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา คือ ปัจจัยด้านความพร้อมในการออกกำลังกายของตนเอง (Beta=0.728) และ
ทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย (Beta= -0.159 ) และสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมออกกำลัง
กาย ของบุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ได้ร้อยละ 51 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (adj.R2=.51, p=.043)
3. ปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกายอีก 5 ด้านคือ 1) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม
2) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) ความรู้สึกที่มีต่อ
พฤติกรรม 5) อิทธิพลระหว่างบุคคล ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรหาแรงจูงใจ เสริมความพร้อม และกระตุ้นให้บุคลากร
สาธารณสุขมีพฤติกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสม

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย