ผลของโปรแกรมการระลึกความหลังต่อความหวังในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า: การศึกษาเบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • เกษศิรินทร์ ภู่เพชร
  • อรวรรณ หนูแก้ว
  • ศรีสุดา วนาลีสิน

คำสำคัญ:

โปรแกรมการระลึกความหลัง, ความหวัง, โรคซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและ ทดลองโปรแกรมการระลึกความหลังต่อความหวัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุ อายุระหว่าง 60-79 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา- ราชนครินทร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการระลึกความ หลัง ซึ่งพัฒนาตามแนวคิดความหวังของ Herth (2001) และแนวคิดการระลึกความหลังของ Hamilton (1985)       ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 5 ครั้ง ๆ ละ 60-90 นาที สัปดาห์ละครั้ง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความหวังของ Herth (2001) เครื่องมือ ทั้ง 2 ส่วน ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบประเมินความหวังของเฮิร์ท หาความเที่ยงด้วยวิธีแอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติทีคู่  ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความหวังของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการระลึก ความหลัง (M=37.33, SD=1.15) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการระลึกความหลัง (M=30.73, SD=1.57) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงให้เป็นว่าโปรแกรมการระลึกความหลัง สามารถเพิ่มความหวังใน ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าได้ 

Downloads