การพัฒนาระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ด

Main Article Content

ฉัตรกาญจน์ นามวิเศษ
ภูเบศร์ พิพิธหิรัญการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ด และหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย คือ 1) ออกแบบระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และออกแบบเครื่องบันทึกเวลาเรียน 2) พัฒนาโปรแกรมระบบบันทึกเวลาเรียนและสร้างเครื่องบันทึกเวลาเรียน 3) ทดลองใช้ระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ดเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ พบว่า 1) ผลการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 8 เมนูหลัก คือ หน้าหลัก หน้าบันทึกเวลาเรียน หน้าข้อมูลนักเรียน หน้าข้อมูลครู หน้าข้อมูลรายวิชา หน้าตารางสอน หน้าสรุปผล และหน้าผู้จัดทำ 2) ผลการออกแบบเครื่องบันทึกเวลาเรียนและสร้างเครื่องบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ด ซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์เป็นตัวแสดงผล ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino UNO R3 เป็นตัวควบคุมข้อมูลไปประมวลผลที่ชิฟประมวลผลคำสั่ง และยังนำข้อมูลไปแสดงผลที่จอคอมพิวเตอร์ โมดูลอ่านแท็กอาร์เอฟไอดีและกล้องอ่านคิวอาร์โค้ด เป็นตัวส่งสัญญาณไปยังแท็กหรือโค้ด และจอแอลซีดี เป็นตัวแสดงผล 3) ทดลองใช้ระบบบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ดกับนักเรียนใน 4 วิชา รวมการบันทึกทั้งหมดได้ 832 ครั้ง และเครื่องบันทึกเวลาเรียนสามารถบันทึกได้ถูกต้องทั้ง 832 ครั้ง เมื่อหาค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของเครื่องมือเท่ากับ 0% และค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือเท่ากับ 100% แสดงให้เห็นว่าเครื่องบันทึกเวลาเรียนด้วยอาร์เอฟไอดีและคิวอาร์โค้ดที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในการบันทึกข้อมูล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา สีหาพงษ์ และ กัญชพร ศรมณี. (2558). ระบบการบ่งชี้รหัสเฉพาะโดยใช้ความถี่วิทยุ กับการจัดการขนส่งทรงประสิทธิภาพ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 4(1), 102-109.

จิรากร เฉลิมดิษฐ. (2555). ระบบตรวจสอบรายชื่อการเข้าเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดบางกระโดยใช้ RFID. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.)

ธิติพงษ์ วงสาโท, ละออ โควาวิสารัช, ทวีศักดิ์ สรรเพชุดา, กฤษฎา จินดา, สดใส วิเศษสุด และ อนุวัฒน์ ไชยวงศ์เย็น. (2558). การพัฒนาระบบนำชมพิพิธภัณฑ์แบบเครือข่ายด้วยคิวอาร์โค้ดบนสมาร์ทโฟน. วารสารการจัดการมหวิทยาลัยวิไลลักษณ์, 4(1), 12-22.

นพดล ผู้มีจรรยา และ ฌมน จีรังสุวรรณ. (2555). การพัฒนาระบบและกิจกรรมการเรียนรู้ แบบตนเองในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ u-learning ด้วยการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้แท็บเล็ตและ QR code. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(26), 13-24.

นฤเทพ สุวรรณธาดา, สมคิด แซ่หลี และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2556). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการบันทึกข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสำเร็จการศึกษาโดยนำเข้าข้อมูลผ่านระบบเก็บข้อมูลออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 9(2), 20-26.

พิทักษ์ จิตรสำราญ. (2551). โปรแกรมการจัดการงานกิจกรรมนิสิตและการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาด้วย RFID. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

วริญทร เจนชัย, จิติมนต์ อั่งสกุล และ ธรา อั่งสกุล. (2555). ระบบบันทึกการเข้าชั้นเรียนผ่านบลูทูธ. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 6(1), 37-55.

สิรยาภรณ์ ผาลาวรรณ และ สุรพล ฤทธิ์รวมทรัพย์. (2558). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ในห้องสมุด. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 8(1), 115-133.

สุรีย์พร มั่งมี. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบ RFID ที่มีการสื่อสารแบบ Frame ALOHA. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.)

Ganjar, A., Jongtae, R., Hyejung, A., Jaeho, L., Umar, F., Muhammad, F. I. & M Alex, S. (2560). Integration of RFID, wireless sensor networks, and data mining in an e-pedigree food traceability system. Journal of Food Engineering, 212, 65-67.