ความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำในบริเวณการเดินทางภายในเมืองโดยสองแถว และรถยนต์ส่วนบุคคล ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วินัย มีแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำในบริเวณการเดินทางภายในเมืองโดยสองแถวและรถยนต์ส่วนบุคคลในเขต อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (2) เพื่อเป็นฐานข้อมูล การวางแผน การจัดการ ด้านคุณภาพอากาศในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยทำศึกษา ปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำ อุณหภูมิเฉลี่ย และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย (โดยตั้งตั้งเครื่องมือตรวจวัดส่วนบุคคล แยกตามการเดินทาง) ซึ่งทำการตรวจวัดวันธรรมดาและวันหยุดอยู่ในช่วงเวลาเร่งด่วน ช่วงเช้าเวลา 06.00-09.00 น. ช่วงบ่ายเวลา 15.00-18.00 น. โดยมีพื้นที่ในการศึกษาเก็บข้อมูลตั้งแต่สัญญาณไฟจราจรสี่แยกบ้านจั่นจนถึงหน้าสถานีขนส่งแห่งที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นระยะทางทั้งสิ้น 5.7 กิโลเมตร ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Independent-samples T-Test ผลการศึกษา ปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำของวันหยุด (ช่วงเช้า) ของรถสองแถว มีปริมาณผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ Elemental carbon ช่วงเวลา 08.06-08.10 น. มีค่าสูงสุด คือ 5,881 (µg/m3) เวลา 16.08 น. จะมีปริมาณความ เข้มข้นผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ Organic carbon สูงสุดอยู่ที่ -1984.67 µg/m³ อุณหภูมิ 30.05 °C ความชื้นสัมพัทธ์ 81.47% ตามลำดับ รถยนต์ส่วนบุคคล มีปริมาณความ เข้มข้นผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ Elemental carbon สูงสุดคือ 27,277 µg/m3 ช่วงเวลา 08.14-08.20 น. จะมีปริมาณ Organic carbon สูงสุดอยู่ที่ -33,045 µg/m³ เวลา 16.08 -16.10 น อุณหภูมิ 39.60 °C ความชื้นสัมพัทธ์ 72.17% ตามลำดับ วันหยุด ช่วงบ่าย พบว่า รถสองแถว มีปริมาณผงฝุ่นคาร์บอนดำ Elemental carbon สูงสุดอยู่ที่ 5,681.67 µg/m³ เวลา 16.06-16.10 น. อุณหภูมิสูงสุด 33.50 °C ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 65.87 รถยนต์ ส่วนบุคคล มีปริมาณผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ สูงสุดคือ 32,737 µg/m3) ที่ช่วงเวลา 16.12-16.15 น. อุณหภูมิ สูงสุด 34.62 °C ความชื้นสัมพัทธ์ สูงสุด 56.23% ตามลำดับ 


ส่วนปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำของวันธรรมด (ช่วงเช้า) พบว่า รถสองแถว มีปริมาณผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ ช่วงเวลาที่สูงสุด คือ ช่วงเวลา 08.17-08.20 น. มีค่า 8,834 (µg/m3) อุณหภูมิ 30°C ความชื้นสัมพัทธ์ของ 83.60% ตามลำดับ รถยนต์ส่วนบุคคล มีปริมาณผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ ช่วงเวลาที่พบสูงสุดคือช่วงเวลา 08.20-08.25 น. มีค่า 38,617.33 (µg/m3) อุณหภูมิ 33.90 °C ความชื้นสัมพัทธ์ของ 78.16% วันธรรมดา (บ่าย) พบว่ารถสองแถวมีปริมาณความเข้มข้นผงฝุ่นคาร์บอนดำรวมในบรรยากาศ ช่วงเวลาที่สูงสุด คือ ช่วงเวลา 16.10-16.15 น. มีค่า 34,985 (µg/m3) อุณหภูมิ 31.67 °C ความชื้นสัมพัทธ์ของ 83.63% ตามลำดับ รถยนต์ส่วนบุคคลมีปริมาณผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศ ช่วงเวลาที่สูงสุดคือช่วงเวลา 16.15-16.20 น. มีค่า 8,288 µg/m3 อุณหภูมิ 40.60 °C ความชื้นสัมพัทธ์ของ 71.21% ตามลำดับ เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test วิเคราะห์สองตัวแปรรถสองแถวและรถยนต์ส่วนบุคคล จากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติ T-test พบว่ารูปแบบการเดินทางโดยรถสองแถวไม่แตกต่างกับรถยนต์ส่วนบุคคลอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2559). จำนวนรถที่จดทะเบียนสะสม. สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2559. จาก http://www.dltudon.com/index2.php.

กรมควบคุมมลพิษ. (2553). ผงฝุ่นคาร์บอนดำในบรรยากาศและภาวะโลกร้อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560. จาก http://infofile.pcd.go.th/air/AirNoise53_3.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). ผลกระทบของผงฝุ่นคาร์บอนดำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560 จาก https://www.facebook.com/PCD.go.th/posts/678501368899920.

นพภาพร พานิช. (2550). ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง) ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

World Health Organization [WHO]. (2012). Diesel Engine Exhaust Carcinogenic. International Agency for Research on Cancer. Pages 2-4 .

Xu, J., Jin, T., Miao, Y., Han, B., Gao, J., Bai, Z. and Xu, X. (2015). Individual and population intake factions of diesel particulate matter (DPM) in bus stop microenvironment. Environmental DOI: 10.1016/j.envpol.2015.09.005