ระดับการสัมผัสของนักปั่นจักรยานและคนเดินเท้าต่อผงฝุ่นคาร์บอนดำในฤดูฝน ปี 2560 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

Winai Meesang

บทคัดย่อ

            งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการรับสัมผัสฝุ่นคาร์บอนดำของผู้ปั่นจักรยานและประเมินความเสี่ยงการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นคาร์บอนดำในกลุ่มผู้ปั่นจักรยานและคนเดินเท้าในช่วงฤดูฝน ในเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และเพื่อบ่งชี้พื้นที่ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยทำการศึกษาปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และค่าอัตราส่วนของปริมาณการจราจรต่อความจุของถนน ซึ่งทำการตรวจวัดในช่วงเช้า (06.00-09.00 น.) และช่วงบ่าย (15.00-18.00 น.) ของวันธรรมดาและวันหยุด วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการประเมินระดับการรับสัมผัสฝุ่นคาร์บอนดำของผู้ปั่นจักรยานและคนเดินเท้าในช่วงฤดูฝน ในเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พบว่า คนเดินเท้าจะได้รับการรับสัมผัสฝุ่นคาร์บอนดำมากกว่าผู้ปั่นจักรยานในช่วงเช้าของวันธรรมดา ส่วนในช่วงบ่ายผู้ปั่นจักรยานจะได้รับการรับสัมผัสฝุ่นคาร์บอนดำมากว่าคนเดินเท้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการรับสัมผัสผงฝุ่นคาร์บอนดำในช่วงวันหยุด ส่วนผลการประเมินความเสี่ยงการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นคาร์บอนดำในกลุ่ม ผู้ปั่นจักรยานและคนเดินเท้า พบว่า ผู้เดินเท้ามีโอกาสได้รับผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่า ผู้ปั่นจักรยาน อันเนื่องมาจากการสัมผัสผงฝุ่นคาร์บอนดำ ซึ่งมีโอกาสส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ (Barath et al., 2010; Mills et al., 2005) การทำงานระบบการหายใจผิดปกติ และปัญหาการทำงานของปอด (Sawant et al., 2008) อีกทั้งส่งผลต่อโรคทางเดินหายใจและส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (Rich et al., 2005) นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า พื้นที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในเมืองอุดรธานี คือ บริเวณถนนช่องทางที่ 2 หน้ากองบิน 23 และบริเวณหน้าโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีค่าอัตราส่วนปริมาณจราจรต่อความจุของถนน (Volume/ Capacity Ratio: V/C Ratio) วันธรรมดา พบว่าค่าประเมินสภาพจราจรตามอัตราส่วนของปริมาณการจราจรอยู่ในสภาพการจราจรติดขัดรุนแรง ค่าอัตราส่วนของปริมาณการจราจร (V/C Ratio) เท่ากับ 0.88-1.00 (88-100%) วันหยุด อยู่ในสภาพการเคลื่อนตัวของสภาพจราจรพอใช้ ค่าอัตราส่วนของปริมาณการจราจร (V/C Ratio) เท่ากับ 0.67-0.88 (67-88%) (Transportation Research Board., 2000) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำระหว่างกลุ่มคนเดินเท้าและผู้ปั่นจักรยานในวันธรรมดา พบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.193) แต่ในวันหยุดพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นของผงฝุ่นคาร์บอนดำแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.002)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

Winai Meesang, Department of Environment Science,Faculty of Science.Udon Thani Rajabhat University, 64 Tahan Road,Muang Udon Thani, Udon Thani,Thailand 41000.

Department of Environment Science,Faculty of Science.Udon Thani Rajabhat University,

64 Tahan Road,Muang Udon Thani,

Udon Thani,Thailand 41000.

References

กรมการขนส่งทางบกและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2560). สถิติจำนวนรถจำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2560, จาก https://www.news. mot.go.th.

Barath, S. et al. (2010). Impaired vascular function after exposure to diesel exhaust generated at urban transient running conditions. Particle and Fibre Toxicology, 7, 19.

Cheng, Y. H., Liao, C. W., Liu, Z. S., Thai, C. J., & His, H. C. (2014). A size segregation method for monitoring the diurnal characteristics of atmospheric black carbon size distribution at urban traffic sites: Atmospheric Environment. Sci. Procedia, 90, 78-86.

Hansen, A. D. A., Rosen, H., & Novakov, T. (1984). The Aethalometer- An Instrument for the Real-Time Measurement of Optical Absorption by Aerosol Particles. Sci. Total Environ, 36, 191–196.

Jacobson, M. Z. (2001). Strong Radiative Heating Due to the Mixing State of Black Carbon in Atmospheric Aerosols. Nature 409, 695–697.

Jacobson, M. Z. (2002). Control of Fossil-Fuel Particulate Black Carbon and Organic Matter, Possibly the Most Effective Method of Slowing Global Warming. Journal of Geophysical Research, 107(D19), 4410, DOI: 10.1029/ 2001JD001376.

Janssen, A. N. et al. (2012). Health effects of black carbon. Copenhagen: World Health Organization [WHO].

Li, Y., Henze, K. D., Jack, D., Henderson, H. B., & Kinney, L. P. (2016). Assessing public health burden associated with exposure to ambient black carbon in the United States. Science of The Total Environment, 539, 515-525.

Mills, N. L. et al. (2005). Diesel exhaust inhalation causes vascular dysfunction and impaired endogenous fibrinolysis. Circulation, 112(25), 3930–3936.

Rich, D. Q. et al. (2005). Association of Sort-Term Ambient Air Pollution Concentrations and Ventricular Arrhythmias. American Journal of Epidemiology, 161(12), 1123-1132. DOI: 10.1093/aje/kwi143.

Sawant, A. A. et al. (2008). Generation and characterization of diesel exhaust in a facility fo
r controlled human exposures. Journal of the Air & Waste Management Association, 58(6), 829–837.

Transportation Research Board. (2000). Highway Capacity Manual. National Research Council. Washington DC: Transportation Research Board Publications.

Watson, J. G. (2002). Visibility: Science and Regulation. Journal of the Air & Waste Management Association, 52(6), 628-713.