ประสิทธิผลพรมกะลานวดเท้าต่อการลดการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้า ของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลวังยาง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

เพชรรัตน์ รัตนชมภู
มัลลิกา บุญทอง
กัญจนภรณ์ ธงทอง
ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์
สุภัสสร วันสุทะ
ลัดดาวัลย์ ยืนยาว

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะเส้นประสาททำงานบกพร่อง (Diabetic Neuropathy) จัดเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขและมีผลกระทบทั้งต่อค่าใช้จ่ายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นการป้องกันและลดความเสียหายจากภาวะดังกล่าวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันแนวทางหลักในการรักษา คือ การรับประทานยา ซึ่งมีข้อจำกัดและมีผลข้างเคียงต่อตัวผู้ป่วย ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษานวัตกรรมพรมกะลานวดเท้าขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดและผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดเท้าด้วยนวัตกรรมพรมกะลานวดเท้าต่อการลดการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน โดยทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลวังยาง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ในช่วงเดือนกันยายน 2559 ถึง สิงหาคม 2560 จำนวน 24 คน ที่มีการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้าจากการตรวจด้วย monofilament ขนาด 10 กรัม อย่างน้อย 1 จุด ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างจะได้รับคำชี้แจงจากผู้วิจัย พร้อมทั้งนวัตกรรมพรมกะลานวดเท้าและคู่มือการดูแลเท้าคนละ 1 ชุด โดยกลุ่มตัวอย่างต้องนวดเท้าด้วยนวัตกรรมพรมกะลานวดเท้าตามท่ามาตรฐาน 5 ท่า นานท่าละ 3 นาที เป็นเวลา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะถูกประเมินการสูญเสียการรับความรู้สึกทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าการรับความรู้สึกที่เท้าของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.83, 62.50, 70.83 และ 79.16 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการนวดเท้าด้วยนวัตกรรมพรมกะลานวดเท้าสามารถช่วยกระตุ้นและลดการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีการสูญเสียการรับความรู้สึกได้  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไกรสิงห์ รุ่งโรจน์สกุลพร. (2549). หนังสือเรียน วิชาการนวดกดจุดสะท้อนเท้า (เพื่อสุขภาพ) หลักสูตร 60 ชั่วโมง. เอกสารประกอบการอบรมนวดกดจุดสะท้อนเท้า

ขนิษฐา ทุมมา. (2549). ผลของการนวดท้าต่อการลดอาการชาเท้าทันทีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ขอนแก่น)

จันทกานต์ เกียรติภักดี, วิภาวรรณ ลีลาสำราญ, วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์ และ สุทธิพงษ์ ทิพชาติโยธิน. (2552). ผลของการใช้โมโนฟิลาเมนต์ขนาด 10 กรัม ทดสอบภาวะการสูญเสียความรู้สึกที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 19(3), 86-90.

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2548). การวินิจฉัยและการจำแนกประเภทของโรคเบาหวาน.เอกสารประกอบการประชุมโครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน หลักสูตรพื้นฐานรุ่นที่ 8 จัดโดยสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน, ณ โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล กรุงเทพมหานคร.

สุเชาว์ เพียรเชาว์กุล. (2549). คู่มือหมอประจำครอบครัว ตำราศาสตร์แห่งเท้า. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พจนา ปิยะปกรณ์ชัย, วิสุทธิ์ โนจิตต์ และ ดวงใจ เกริกชัยวัน. (2549). การสังเคราะห์และประยุกต์องค์ความรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน: การนวดตนเองด้วยกะลาในผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 7(4), 12-22.

สมลักษณ์ หนูจันทร์. (2550). ผลนวดไทยและการกดจุดต่ออาการชาปลายเท้าในผู้ป่วย เบาหวาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

สุนิสา บริสุทธิ์. (2552). เปรียบเทียบผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลเท้ากับโปรแกรมการดูแลเท้าที่ผสมผสานการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลาต่ออาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2558 (ปีงบประมาณ 2559). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2551). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยและสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจคัด กรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อำไพ ชัยชลทรัพย์, บุญยาพร วิภาตะวัต, รุ่งฤดี ทองพลู และ อรุณเนตร ต้นโลม. (2562). คู่มือ กดจุดสะท้อนเท้า (Foot Reflexology) เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2.นนทบุรี: บริษัท วี อินดี้ ดีไซน์ จำกัด.

American Diabetes Association. (2004) Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care, 27(Suppl1), 5-10.

Dalal, K., Maran, B., Pandey, R. M., & Tripathi, M. (2014). Determination of Efficacy of Reflexology in Managing Patients with Diabetic Neuropathy: A Randomized Controlled Clinical Trial. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 843036.

Embong, N. H., Soh, Y. C., Ming, L. C., & Wongc, T. W. (2015). Revisiting reflexology: Concept, evidence, current practice, and practitioner training. Journal of Traditional and Complementary Medicine, 5(4), 197–206.

World Health Organization. (2016). Global report on diabetes. WHO Library Cataloguing-in-Publication Data, 1-88.