การพัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไป: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Authors

  • ดร.ยุธยา อยู่เย็น
  • ดร.กชกร ชำนาญกิตติชัย
  • ดร.ณัฏฐนิช สิริสัจจานุรักษ์
  • ดร.แว่นแก้ว ลีพึ่งธรรม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิระ จิตสุภา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิพร ต่ายคำ
  • ดร.เอกชัย พุมดวง
  • ดร.สรพล จิระสวัสดิ์
  • ดร.พันธรักษ์ ผูกพันธุ์
  • นายสุทัน มุมแดง
  • นางสาวกฤติกา ลีลาพตะ
  • นางสาวรวีวรรณ เอี้ยนชาศรี

Keywords:

ความรู้ความสามารถทั่วไป, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษา
ทั่วไปของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีความสอดคล้องกับการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. และ
เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยแบ่งการศึกษา
ออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีความสอดคล้องกับการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. และระยะที่ 2
พัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยจัดทำโครงการ “ติวสรุป
เส้นทางสู่สายอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบบรรจุรับราชการหรือสอบบรรจุเป็นบุคลากรในหน่วยงาน
รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน” จากการศึกษา พบว่า รายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ที่มีความสอดคล้องกับการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. ได้แก่ วิชาการคิดและการตัดสินใจ
วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร และวิชาภาษาอังกฤษ แต่ทั้งนี้ พบว่า วิชาการคิดและการตัดสินใจมีเนื้อหา
ไม่ครอบคลุมตามขอบเขตเนื้อหาการสอบวัดความสามารถทั่วไปตามที่ ก.พ. กำหนด และวิชาภาษาไทย
เพื่อการสื่อสารแม้จะครอบคลุม แต่มีระดับความยากและความลึกของเนื้อหาน้อยกว่าเนื้อหาการสอบวิชา
ภาษาไทยตามที่ ก.พ. กำหนด เมื่อดำเนินการพัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไปให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4
โดยการเข้าร่วมโครงการติวสรุปฯ จำนวน 104 คน พบว่า มีผู้สอบผ่านก่อนติวทั้ง 3 รายวิชา ได้แก่
ความสามารถทั่วไป ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 7.14 และมีผู้สอบผ่านหลังติวทั้ง
3 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 32.14 โดยมีผู้ที่สอบผ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.00 จะเห็นได้ว่า การจัดโครงการติวสรุปฯ สามารถเป็นแนวทางเสริมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไปของนักศึกษาได้จริงซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการคู่ขนานไปพร้อมกับการวางแผนปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการ
จัดการเรียนการสอนในระยะยาว เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไปอันจะนำไป
สู่การใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานและแสวงหาความรู้เพิ่มเติม รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการสอบ
แข่งขันเพื่อเข้าทำงานในหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนต่อไป

References

Boontham, P. (2008). The Construction and Development of a Speed and Power Test of
General Cognitive Ability for Entry Level Thai Civil Servants. (Master’s thesis).
Thammasat University, Bangkok. (in Thai)

Office of the Higher Education Commission. (2015). The Test Report for Knowledge
Measurement of Graduate Students or Students who will Graduate in the
Upcoming Academic Year from Office of the Higher Education Commission,
Academic year 2014. (Copy). (in Thai)

Thai Post. (2015). Office of the Higher Education Commission Releases the New Curriculum
Criteria. Retrieved September 23, 2015, from http://www. kroobannok.com/
76407. (in Thai)

Published

2016-08-30

How to Cite

อยู่เย็น ด., ชำนาญกิตติชัย ด., สิริสัจจานุรักษ์ ด., ลีพึ่งธรรม ด., จิตสุภา ผ. ด., ต่ายคำ ผ. ด., พุมดวง ด., จิระสวัสดิ์ ด., ผูกพันธุ์ ด., มุมแดง น., ลีลาพตะ น., & เอี้ยนชาศรี น. (2016). การพัฒนาความรู้ความสามารถทั่วไป: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(2), 1–18. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186170

Issue

Section

Invitation