การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

Authors

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชษฐ สุนทรโชติ

Keywords:

จิตรกรรม, จิตรกรรมสร้างสรรค์, ศิลปกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหาเรื่องราวและเทคนิคกลวิธีของศิลปะ
เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่มีรูปแบบ เนื้อหาเรื่องราวที่ส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการสร้างสรรค์รูปแบบผลงานศิลปกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
โดยเป็นวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปกรรม รูปแบบวิจัยและพัฒนา เทคนิควิจัยผสมผสาน ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการศึกษารูปแบบ เนื้อหาเรื่องราวและเทคนิคของศิลปะเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจากกลุ่ม
ผู้ทรงคุณวุฒิฯและประชาชนทั่วไป พบว่า โดยแนวทางการสร้างสรรค์ควรสัมพันธ์กับหลักธรรมคำสอน
ในศาสนา ภาพที่มีเนื้อหาในเชิงบวก เนื้อหาที่ก่อให้เกิดสุนทรียภาพและสะท้อนความคิดที่ดีงาม 2) ผลการพัฒนา
ภาพร่าง จำนวน 40 ภาพ แล้วเสนอผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือก จำนวน 20 ภาพ นำมาสร้างเป็นภาพ ขนาด
70 x 90 เซนติเมตร โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับขอทาน การทารุณกังขังสัตว์ การทำบุญตักบาตร การอุ้มบุญ
ซึ่งเป็นเรื่องราวที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของสังคมมนุษย์ โดยใช้รูปแบบเหมือนจริง และตัดทอน
การใช้สีแบบเอกรงค์และจัดวางจุดเด่นตรงกึ่งกลางภาพ ผลการรับรองศิลปกรรมของผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ
พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดีมากถึงดีมากที่สุด แล้วนำผลงานสร้างสรรค์ไปใช้ทดสอบกับเยาวชน กลุ่ม
เป้าหมาย จำนวน 39 คน 3) การประเมินผลการใช้ นักเรียนได้ทำการประเมินจิตรกรรมด้วยแบบสอบถาม
ความคิดเห็น แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดีมากถึงดีมากที่สุดทุกด้าน
ส่วนแนวทางในการสร้างสรรค์รูปแบบงานศิลปกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม พบว่า ควรใช้รูปแบบ
เหมือนจริงที่มีเนื้อหาเชิงบวกสอดคล้องกับหลักธรรม ด้วยเทคนิคกลวิธี ควรเรียบง่ายไม่ซับซ้อน และเนื้อหา
ต้องไม่ล่อแหลมและเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ชม

References

Maphan, A. (2009). A Report of Behavioural Development in Terms of Moral and Ethic
among Students to Be Good Citizens. Bangkok: Tharn Aksorn. (in Thai)

Ponrungrot, C. (2001). Art: Audibility Visibility Sensibility. Bangkok: Format Associate
Publishing. (in Thai)

Saijai, K., Soonthornchot, P. & Dheppimol, S. (2012). Figurative Art for Promoting Moral and
Ethic among Thais in the Next Century (Research report). Bangkok. (in Thai)

Singhayabut, S. (2003). The Criticism of Visual Art. Bangkok: Odian Store. (in Thai)

Soonphongsri, K. (2012). Aesthetics: the Philosophy of Art, the Theory of Visual Art and the
Criticism of Art. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Supanimit, P. (2006). Miracle of Art. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai)

Suthasinobol, K. (2012). A Buddhist-Based Learning Process for the Pursuit of Complete
Human. Ratchaburi: Dhammarak Publishing. (in Thai)

Tungjaroen, W. (2005). The Study of Visual Art. Bangkok: E and IQ. (in Thai)

Tungjaroen, W. (2009). Vision, Art and Culture. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Wasi, P. (2007). Humanity and Appreciation of Supremacy: Truth, Beauty & Virtue. 2nded.
Bangkok: Green-Punyayarn. (in Thai)

Wongdhamma, T. (2011). The World’s Principal Religions. Bangkok: Odian Store. (in Thai)

Downloads

Published

2016-08-30

How to Cite

สุนทรโชติ ผ. (2016). การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(2), 19–38. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186202

Issue

Section

Original Articles