การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย

Authors

  • นายกิจโภคิณ เกษมทรัพย์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์

Keywords:

ความยุติธรรมในองค์การ, ความพึงพอใจในงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของบุพปัจจัยของพฤติกรรมการเป็นสมาชิก
ที่ดีขององค์การ ได้แก่ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์การ
กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งใน
ประเทศไทย และเพื่อศึกษาอิทธิพลของบุพปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ
พนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย จำนวนกลุ่มประชากร 27,229 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย จำนวน
611 คน ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้บริหารระดับสูง
ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย จำนวน 4 คน เพื่อยืนยันผลของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล

โดยใช้โปรแกรม SPSS เพื่อดำเนินการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของข้อคำถามทุกข้อ
ในแต่ละปัจจัย และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบ และใช้
โปรแกรม AMOS เพื่อสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ
พนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก บุพปัจจัย
3 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ตัวแปร คือ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ
และความพึงพอใจในงาน ตามลำดับ 2. การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความพึงพอใจในงาน และ
ความผูกพันต่อองค์การ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ อย่างไรก็ตามการรับรู้
ความยุติธรรมด้านปฏิสัมพันธ์ต่อกันไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ แต่มี
อิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยผ่านความพึงพอใจในงาน และความผูกพัน
ต่อองค์การ นอกจากนี้การรับรู้ความยุติธรรมด้านปฏิสัมพันธ์ต่อกันยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยผ่านความพึงพอใจในงาน

References

Bakhshi, A., Kumar, K. & Rani, E. (2009). Organizational Justice Perceptions as Predictor of
Job Satisfaction and Organizational Commitment. International Journal of
Business and Management, 4(9), 145-154.

Brown, R. (1993). Antecedents and Consequences of Salesperson Job Satisfaction:
Meta-analysis and Assessment of Causal Effects. Journal of Marketing Research,
30(1), 63-77.

Chen, Z. X. & Francesco, A. M. (2003). The Relationship between the Three Components of
Commitment and Employee Performance in China. Journal of Vocational
Behavior, 62(3), 490-510.

Chiboiwa, M. W., Chipunza, C. & Samuel, M. O. (2011). Evaluation of Job Satisfaction and
Organizational Citizenship Behavior: Case Study of Selected Organizations in
Zimbabwe. African Journal of Business Management, 5(7), 2910-2918.

Cohen-Charash, Y. & Spector, P. E. (2001). The Role of Justice in Organizations:
A Meta-analysis. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 86(2),
278-321.

Connell, J., Ferres, N. & Travaglione, T. (2003). Engendering Trust in Manager-subordinate
Relationships: Predictors and Outcomes. Personnel Review, 32(5), 569-587.

Felfe, J., Schmook, R., Schyns, B. & Six, B. (2008). Does the Form of Employment Make a
Difference? Commitment of Traditional, Temporary, and Self-employed Workers.
Journal of Vocational Behavior, 72(1), 81-94.

Gonzalez, J. V. & Garazo, T. G. (2006). Structural Relationships between Organizational
Service Orientation, Contact Employee Job Satisfaction and Citizenship Behavior.
International Journal of Service Industrial Management, 17(1), 23-50.

Gyekye, S. A. & Salminen, S. (2005). Are “Good Soldiers” Safety Conscious? An Examination
of the Relationship between Organizational Citizenship Behaviors and Perception
of Workplace Safety. Social Behavior and Personality, 33(8), 805-820.

Jeanpacha, T. (2014). A Causal Model of the Effectiveness of Police Stations Organization
under Metropolitan Police Bureau of Royal Thai Police in Thailand. SDU Research
Journal Humanities and Social Sciences, 10(3), 165-180. (in Thai)

Kinicki, A. J., Schriesheim, C. A., McKee-Ryan, F. M. & Carson, K. P. (2002). Assessing the
Construct Validity of the Job Descriptive Index: A Review of Meta-analysis.
Journal of Applied Psychology, 87(1), 14-32.

Najafi, S., Noruzy, A., Azar, H. K., Nazari-Shirkouhi, S. & Dalvand, M. R. (2011). Investigating
the Relationship between Organizational Justice, Psychological Empowerment,
Job Satisfaction, Organizational Commitment and Organizational Citizenship
Behavior: An Empirical Model. African Journal of Business Management, 5(13),
5241-5248.

Organ, D. W. & Konovsky, M. (1989). Cognitive Versus Affective Determinants of
Organizational Citizenship Behavior. Journal of Applied Psychology, 74(1), 157-
164.

Organ, D. W., Podsakoff, P. M. & MacKenzie, S. B. (2006). Organizational Citizenship
Behavior: Its Nature, Antecedents, and Consequences. Thousand Oaks, CA: Sage
Publications.

Podsakoff, P. M., MacKenzie, S. B., Moorman, R. H. & Fetter, R. (1990). Transformational
Leader Behaviors and their Effects on Follower’s Trust in Leader, Satisfaction, and
Organizational Citizenship Behavior. Leadership Quarterly, 1(2), 107-142.

Pool, S. & Pool, B. (2007). A Management Development Model: Measurement Commitment
and Its Impact on Job Satisfaction among Executives in a Learning Organization.
Journal of Management Development, 26(4), 353-369.

Samuel, N., Peter, S. & Eddie, D. (2006). Transformational and Transactional Leadership
Effects on Teachers’ Job Satisfaction, Organizational Commitment, and
Organizational Citizenship Behavior in Primary Schools: The Tanzanian case.
School Effectiveness and School Improvement, 17(2), 145-177.

Sweeney, J. T. & Quirin, J. J. (2008). Accountants as Layoff Survivors: A Research Note.
Accounting, Organizations and Society, 34(6/7), 787-795.

Thailand Automotive Institute. (2012). Automotive Industry Master Plan 2012-2016.
Bangkok: Thailand Automotive Institute.

WeiBo, A., Kaur, S. & Jun, W. (2010). New Development of Organizational Commitment:
A Critical Review (1960-2009). African Journal of Business Management, 4(1),
12-20.

Yamane, T. (1970). Statistics: An introductory Analysis. Tokyo, Japan: Weatherhill.

Downloads

Published

2016-08-30

How to Cite

เกษมทรัพย์ น., ทับหิรัญรักษ ร. ด., & ผังนิรันดร์ ผ. ด. (2016). การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ ของโรงงานผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(2), 39–59. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186207

Issue

Section

Original Articles