ผลของการใช้พอดคาสต์ในการฝึกสอนแบบจุลภาคด้วยตัวแบบระดับต่างกันที่มีต่อ การรับรู้ความสามารถของตนเองและสมรรถนะการสอน ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์**

Authors

  • Worawan Kokong
  • Associate Professor Jaitip Na-songkhla

Keywords:

การสอนแบบจุลภาค, พอดคาสต์, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, สมรรถนะการสอน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้พอดคาสต์ในการฝึกสอนแบบจุลภาคด้วย
ตัวแบบระดับต่างกัน ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและสมรรถนะการสอนของนิสิตนักศึกษา
ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-method Design) ซึ่งข้อมูลเชิง
ปริมาณเก็บข้อมูลก่อนทดลอง (Pre-Experimental Design) แบบ The One-Group Pretest-Posttest
Design ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์หลังการทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน
12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบประเมินสมรรถนะการสอน และ 2) เครื่องมือที่ใช้ใน
การทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบจุลภาค และพอดคาสต์การฝึกสอนแบบจุลภาคด้วย
ตัวแบบระดับต่างกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองและสมรรถนะ
การสอนของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ก่อนทดลองและหลังทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05

References

Butchan, A. (2009). Effect of supplementary teaching with podcast using self-regulated
learning strategies in electronic media production for education course on
learning achievement and self-regulation of undergraduate students. (Master’s
thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
Iarmsupasit, S. (2010). Theories and Techniques in Behavior Modification. Bangkok:
Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Kanchanapee, P. (2010). Development of kwam-mee-namjai of prathom suksa five
students, Phiboonuppathum Shool, through learning from live models and
symbolic models. (Master’s thesis). Department of Educational Research and
Psychology. Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
Rick, S. (2010). Using video self-analysis to improve the “withitness” of student teachers.
Journal of Digital Learning in Teacher Education, 26(3), 101-110. V26 n3 p101-110.
Somnam, N. (2003). Teaching principles. Bangkok: Faculty of Education, Suan Sunandha
Rajabhat University. (in Thai)
Srisaen, K. (2004). The Effect of Using Comic Cartoon Modeling on Pratomsuksa IV
Student’s Moral Behavior Khon Kaen Demonstration School Khon Kaen
University. Retrieved July 26, 2013, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/
gskku/article/view/31663/27191. (in Thai)
Sumrit, C., Tipsuwan W. & Phonak, D. (2013). The Development of Learning Model Using
Podcast for iPad to Strengthen the Knowledge and Understanding of Techniques
for Basic Research in Computer Education. Retrieved August 20, 2013, from http:/
/http://gsbooks.gs.kku.ac.th/55/cdgrc13/proceedings.html. (in Thai)
Wongphan, T. (2001). Effects of learning by using video symbolic modeling and group
discussion on caring behaviors of staff nurses. (Master’s thesis). Chulalongkorn
University, Baqngkok. (in Thai)
Yi, M. Y. & Davis, F. D. (2003). Developing and validating an observational learning model of
computer software training and skill acquisition. Information systems research,
14(2), 146-169.

Downloads

Published

2016-12-20

How to Cite

Kokong, W., & Na-songkhla, A. P. J. (2016). ผลของการใช้พอดคาสต์ในการฝึกสอนแบบจุลภาคด้วยตัวแบบระดับต่างกันที่มีต่อ การรับรู้ความสามารถของตนเองและสมรรถนะการสอน ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์**. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 12(3), 59–71. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186446