ตัวแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยพรีเมียร์ลีกสู่การแข่งขันฟุตบอลอาชีพระดับนานาชาติ

Authors

  • องอาจ ก่อสินค้า

Keywords:

ตัวแบบยุทธศาสตร์, การพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพ, ไทยพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลอาชีพระดับนานาชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่ออธิบายลักษณะสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอกของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด และทีมสโมสรฟุตบอล ในไทยพรีเมียร์ลีก และ 2) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีกสู่การแข่งขันระดับสโมสรฟุตบอลอาชีพนานาชาติด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อหาประวัติความเป็นมาของการแข่งขันฟุตบอลในระดับนานาชาติ เกณฑ์มาตรฐานการจัดการสโมสรฟุตบอลอาชีพของ AFC ทั้ง 11 เกณฑ์ และวิธีการประเมินคะแนนเพื่อกำหนดโควตาของแต่ละประเทศให้สามารถเข้าไปแข่งขันใน Asian Champions League ตลอดจนปัจจัยจุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค จากนั้นจึงนำไปสร้างเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีกสู่การแข่งขันระดับสโมสรฟุตบอลอาชีพนานาชาติ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่าน และผู้บริหารสโมสรฟุตบอล 18 ท่าน รวม 28 ท่าน

การวิจัยในครั้งนี้ สามารถสรุปได้เป็นยุทธศาสตร์ OK Strategy ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างของ TPL ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศไทย ดังนั้นการดำเนินการพัฒนาจากส่วนภายในขององค์กรนี้จะเป็นการวางรากฐานการจัดการแข่งขันให้มีความเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั้งภายในประเทศรวมถึงในต่างประเทศโดยการพัฒนาโครงสร้างนี้จะเป็นการปรับปรุงรูปแบบของการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ และการพัฒนาบุคลากรทั้งในระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ  รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์กรเพื่อยกระดับการจัดการแข่งขันให้บรรลุตามเกณฑ์ของ AFC

ยุทธศาสตร์ที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโครงสร้างสโมสรเพื่อให้การพัฒนาฟุตบอลอาชีพมีความสมบูรณ์ และเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดมาตรฐานของฟุตบอลอาชีพตามเกณฑ์ของ AFC โดยจะพัฒนาในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของสโมสร และการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ในฝ่ายต่างๆ ของสโมสร รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้เล่นตั้งแต่ระดับเยาวชนไปสู่ระดับทีมชุดใหญ่ เพื่อการพัฒนาสโมสรอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาด้านการตลาดและสิทธิประโยชน์ของ TPL และสโมสร เป็นยุทธศาสตร์การสร้างรายได้ให้กับ TPL และสโมสรที่ยั่งยืน มีประสิทธิผล และมีความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของ TPL จากผู้สนับสนุนและประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างความร่วมมือกับสมาคมฟุตบอลฯ เพื่อการพัฒนาฟุตบอลอาชีพเป็นยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับมาตรฐานของฟุตบอลอาชีพเพื่อให้ถึงเกณฑ์ของ AFC Champions League ทั้งโดยทางตรง และโดยทางอ้อม ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันว่าจะได้รับการตัดสินอย่างยุติธรรม  รวมถึงความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผลการแข่งขันและอันดับโลกของฟุตบอลทีมชาติซึ่งมีผลโดยตรงต่อโควตาในการแข่งขัน AFC Champions League

ขั้นสุดท้าย ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อยืนยันยุทธศาสตร์และโครงการต่างๆ กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในไทยพรีเมียร์ลีก ได้แก่ ผู้บริหาร พนักงานของสโมสร นักกีฬา และผู้ชม จำนวน 422 คน พบว่าเห็นกลุ่มตัวอย่างได้เห็นด้วยมากที่สุดกับทุกยุทธศาสตร์และโครงการที่สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ยุทธศาสตร์ 

คำสำคัญ: ตัวแบบยุทธศาสตร์ การพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพ ไทยพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลอาชีพระดับนานาชาติ

 

Abstract

The research objectives were: 1) to explain internal as well as external factors of Thai Premier League Co. Ltd. and participating football clubs and 2) to present strategies to improve professional football clubs in Thai Premier League (TPL) and develop professional tournaments at an international level. Mixed method research design, together with SWOT analysis, was used to explore the history of international football tournaments, the 11 AFC Champions League Criteria, and AFC standards in setting the group stage quota for AFC Champions League. This information was used by 10 experts and 18 administrators to create strategic development techniques for the improvement of professional football clubs in TPL and develop professional tournaments at an international level. 

The research findings can be classified into “OK Strategy”, which consist of 4 main strategies:

Strategy 1 aims to improve the structure of TPL, the main body in Thai football leagues. Improving TPL from the inside will lay a strong foundation for the organization’s professional events, with credible standards in accordance with domestic and international criteria. The TPL reforms will improve participation patterns of those involved in professional events and human resources development at practitioner and executive levels. Improvement of the organization’s work to comply with AFC standards will be included as well.

Strategy 2 focuses on the improvement of participating football clubs, which is essential to the development of professional football as a whole, and in turn paves the way to the achievement of AFC professional football standards. This strategy will improve football clubs’ basic structures and provide related knowledge to their staff. Capacity building for players from the youth teams to the main teams will be integrated as a way for sustainable improvement of the teams.

Strategy 3 seeks to improve marketing strategies and benefits of TPL and participating football clubs in order to bring about sustainable income for TPL and the clubs while being fair and effective for all parties involved. At large, this will create confidence in TPL from supporters and the wider public.

Strategy 4 creates cooperation amongst football associations to improve professional football as a whole and comply with AFC Champions League standards, both directly and indirectly. This cooperation can be achieved through confidence building for participating football clubs by ensuring free and fair judgment and cooperation in the improvement of tournament results and the world ranking of Thai national teams, which directly affects the AFC Champions League quota.

At the final stage, the researcher confirmed the research findings, strategies and projects with 422 beneficiaries, including executives, football club staff, athletes, and the audience. The samples totally agreed with all four strategies and related projects.

Keywords: strategic management model, professional football development, Thai Premier League, international competition professional football

Downloads

How to Cite

ก่อสินค้า อ. (2015). ตัวแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยพรีเมียร์ลีกสู่การแข่งขันฟุตบอลอาชีพระดับนานาชาติ. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 10(1), 131–148. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/29236

Issue

Section

Original Articles