การศึกษาองค์ประกอบและการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย

Authors

  • จุฬินฑิพา นพคุณ
  • สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์
  • ศิโรจน์ ผลพันธิน
  • บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์

Keywords:

ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, รูปแบบการฝึกอบรม MIEPS, นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการ ศึกษาปฐมวัยและพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยด้วยรูปแบบการฝึกอบรม MIEPS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการเป็นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 5 จำนวน 572 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มรัตนโกสินทร์และกลุ่มภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการเป็นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 4 จำนวน 24 คนของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน ได้รับการฝึกอบรมด้วยรูปแบบการฝึกอบรม MIEPS และกลุ่ม ควบคุมจำนวน 12 คน เรียนตามรายวิชาที่สาขาการศึกษาปฐมวัยกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบประเมินภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย และรูปแบบการฝึกอบรม MIEPS ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษา ปฐมวัย พบว่า โมเดลภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการพัฒนาผู้อื่น ด้านการเสริมพลังอำนาจ ด้านความนอบน้อม ด้านการไม่เห็นแก่ตัว ด้านการบริการ ด้านการตระหนักรู้ และด้านการสร้างชุมชน โมเดลภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบในแต่ละด้านมีค่าเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .01 ทุกด้าน และสามารถวัดองค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษา ปฐมวัยได้ 2) รูปแบบการฝึกอบรม MIEPS เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาการศึกษา ปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 6 หลักการ ได้แก่ หลักการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หลักการ เรียนรู้จากตัวแบบ หลักการปรับมโนทัศน์ หลักการปฏิสัมพันธ์ หลักการลงมือกระทำ และหลักการประเมินค่า และขั้นตอนการฝึกอบรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นปรับระดับจิต ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างแรงจูงใจภายใน ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติ และขั้นที่ 5 ขั้นสังเคราะห์ 3) ผลการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำใฝ่บริการโดยรวมและรายด้าน ภายในกลุ่มทดลอง พบว่า หลังทดลองสูงขึ้นกว่าก่อน ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Downloads

How to Cite

นพคุณ จ., ภิญโญอนันตพงษ์ ส., ผลพันธิน ศ., & ภิญโญอนันตพงษ์ บ. (2017). การศึกษาองค์ประกอบและการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 11(2), 111–130. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/78033

Issue

Section

Original Articles