การเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคข้อเข่า เสื่อมทางแพทย์แผนตะวันตกกับโรค ลมจับโปงแห้งเข่าทางแพทย์แผนไทย

Main Article Content

ศุภกิจ สุวรรณไตรย์
ธเนศพล พันธ์เพ็ง
นันทิพัฒน์ คำแก้ว
ปิยาอร สีรูปหมอก
พัชรพล อุดมเกียรติ
อารีศักดิ์ โชติวิจิตร
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์
ทวี เลาหพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในศาสตร์การแพทย์ตะวันตกและโรคลมจับโปงแห้งเข่าทางศาสตร์การแพทย์แผนไทย
วิธีการ : อาสาสมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและอาการปวดเข่า จะได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์แผนตะวันตก และจะได้รับการวินิจฉัยแยกโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์โรคลมจับโปงแห้งเข่าโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากนั้นอาสาสมัครทุกรายจะได้รับการรักษาตามมาตรฐานปกติโดยแพทย์แผนตะวันตกต่อไป
ผลการศึกษา : อาสาสมัคร 163 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 63.04±8.5 ปี พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในทางแพทย์แผนตะวันตกส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมจับโปงแห้งเข่าในทางแพทย์แผนไทย ร้อยละ 91.5 ส่วนน้อยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคลมปลายปัตคาดเข่า ร้อยละ 6.7 ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้แก่ โรค Tuberculosis of the knee และ Chondromalacia patella พบว่าได้รับการวินิจฉัยทางแพทย์แผนไทยว่าเป็นโรค
ลมจับโปงน้ำเข่าและโรคลมปลายปัตคาดเข่า ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าคะแนนการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมมี
ความสัมพันธ์กับโรคลมจับโปงแห้งเข่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=0.029; p=0.036)
สรุป : การวินิจฉัยโรคลมจับโปงแห้งเข่าทางแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ตรงกับโรคข้อเข่าเสื่อมทางแพทย์แผนตะวันตกมากที่สุดแต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างกันของการวินิจฉัยโรคระหว่างแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนตะวันตกจะนำไปสู่การรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นสำหรับการศึกษาในอนาคตควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันแนวทางการวินิจฉัยแยกระหว่างโรคปวดเข่าอื่นๆ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ