การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • ขวัญกมล ดอนขวา สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • จิตตานันท์ ติกุล สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Keywords:

Quality Development, Agro Tourism, Perception

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) ความสัมพันธ์ทางด้านประชากรศาสตร์กับระดับบริการที่คาดหวังและ
ระดับการรับรู้ต่อคุณภาพบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ 3) ศึกษาถึงความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อคุณภาพการบริการของการท่องเที่ยว
เชิงเกษตรจากการศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับบริการที่คาดหวังกับระดับการรับรู้ต่อคุณภาพบริการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้แบบสอบถาม
เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง จำนวน 385 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังใช้สถิติอ้างอิง t-Test F-Test Scheffe’s method และ Paired-Sample t-Test
ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดที่ใช้ในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรครั้งนี้ น้อยกว่า 10,000 บาท โดยจำแนกออกเป็น
ค่าใช้จ่ายด้านยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางมาท่องเที่ยว 1,000 – 2,999 บาท ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าของที่ระลึก และค่าที่พักในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว
แต่ละรายการน้อยกว่า 1,000 บาท ด้านการศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยทาง
ประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการการท่องเที่ยวแตกต่างกัน ส่วนนักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยทาง
ประชากรศาสตร์ด้านรายได้ที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ต่อคุณภาพบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแตกต่างกัน ด้านการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว
พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านการให้ความเชื่อมั่นกับนักท่องเที่ยวสูงที่สุด มีผลต่างของค่าเฉลี่ยระหว่าง
ระดับบริการที่คาดหวังกับระดับการรับรู้ต่อคุณภาพบริการ เท่ากับ 0.28 โดยภาพรวมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสามารถส่งมอบคุณภาพบริการถึงเกณฑ์ที่
นักท่องเที่ยวคาดหวัง

Downloads

Published

2014-06-30

Issue

Section

Research Article