ผลการใช้วิธีการเอ็มทีในการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6

Authors

  • ยรรยงค์ ณ บางช้าง สาขาวิชาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

The MT METHOD, วิธีการเอ็มที, Economize Behaviors, พฤติกรรมการประหยัด, The Sufficiency Economy Philosophy, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการเอ็มทีในการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมโดย
ใช้วิธีการเอ็มทีและกลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมโดยใช้วิธีการเอ็มที 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของพฤติกรรมการประหยัดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมโดยใช้วิธีการเอ็มทีในด้านการใช้เงิน การใช้เวลา การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้สิ่งของเครื่องใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดบ้านทึง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบวิธีการเอ็มที 2) แบบวัดพฤติกรรมการประหยัดตามการประเมินตนเองของนักเรียน 3) แบบวัดพฤติกรรมการประหยัดของนักเรียนโดยครูประจำชั้น และ4) แบบวัดพฤติกรรมการประหยัดของนักเรียนโดยผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดโดยใช้วิธีการเอ็มทีมีพฤติกรรมการประหยัดสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการเสริมสร้างพฤติกรรมการประหยัดโดยใช้วิธีการเอ็มทีอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในการวิเคราะห์โดยภาพรวมและจำแนกตามระดับชั้น 2) นักเรียนโดยภาพรวมมีพัฒนาการการประหยัดทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามระดับชั้น พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพัฒนาการการ
ประหยัดในด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการใช้เงิน ด้านการใช้เวลา และด้านการใช้สิ่งของเครื่องใช้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

พงศ์กฤษฎิ์ พละเลิศ. (2544). ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม ผู้นำครอบครัวและผู้นำชุมชนควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนอย่างไร?. การประชาสงเคราะห์. 44(1): 63.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2550). ยุทธวิธีในการพิจารณาสร้างค่านิยม. ครุศาสตร์. 9(5): 9-18.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2549) : ฉบับสรุป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Rerkjaree, S. (1994). Case Studies on Life Analysis Counseling. The Certificate In Service Training Program

for Oversea Teacher. (n.p.):(n.p.).

Tastuya, M. (1994). A Case of study student who lost his motivation to study but escaped in music circle activity.

The student Counseling Journal. 15(4): 41-49.

Downloads

Issue

Section

Research Article