การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้กระบวนการเอไอซี

Authors

  • ศศิวิมล จุลศิลป์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

community participatory, การมีส่วนร่วมของชุมชน, local wisdom, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, sufficiency economy philosophy, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, aic process, กระบวนการเอไอซี

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการเอไอซี 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา โดยมีกรณีศึกษาเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่ในและนอกเขตเมืองอย่างละ 1 โรงเรียน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูล 2 เดือน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและวิธีดำเนินการ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ การมีส่วนร่วมในการปรับแนวคิด การมีส่วนร่วมในการสร้างจิตอาสา การมีส่วนร่วมในการสำรวจภูมิปัญญา การมีส่วนร่วมในการหาแนวทางวางแผนงาน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วมในการมุ่งมั่นติดตามประเมินผล การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์และองค์ประกอบที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จและแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ทั้งสองกรณีศึกษามีลักษณะกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนคล้ายคลึงกัน โดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่สำคัญ 8 ขั้นตอนเหมือนกัน แต่วิธีดำเนินการในแต่ละขั้นตอนมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามบริบทของโรงเรียน 3) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประชาสรรณ์ แสนภักดี. (2550). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html[26 มิถุนายน 2551]

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนัก. (2550). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.moe.go.th/sufficiency[16 กรกฎาคม 2551]

ปารวีร์ กุลรัตนาวิโรจน์. (2548). การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการออกกำลังกายของประชาชน หมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่ง จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาพยาบาลชุมชนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พยนต์ ไทยเกิด. (2546). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาชุมชนเทศบาลเชี่ยวหลานโดยเทคนิค A-I-C. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัยสถาบัน

ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วีระ นิยมวัน. (2547). เทคนิคการพัฒนาคน [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.anamai.moph. go.th/advisor/tamra/plan2.html#col22[26 มิถุนายน 2551]

สุดา ทัพสุวรรณ. (2545). บ้านกับโรงเรียน. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 1(พฤษภาคม-สิงหาคม): 19-26.

สุดา เนตรสว่าง. (2549). การมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาการตีกลองปูจา โรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภัทร ชูประดิษฐ์. (2550). วัฎจักร 5 ขั้นตอนของกระบวนการ A-I-C [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/communityblog/21663[26 มิถุนายน 2551]

สุรชัย ตื้อยศ. (2548). การพัฒนาบุคลากรในงานจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC ของโรงเรียนบ้านสันหวงสามัคคี อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2537). คู่มือการจัดการประชุมเพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาหมู่บ้านโดยพลังประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

World Bank. (n.d.). Appreciation-Influence-Control Collaborative Decisionmaking: Workshop-Based

Method [Online]. Available from: http://www.worldbank.org/ wbi/sourcebook/sba101.htm[2008, June 26]

Downloads

Issue

Section

Research Article