คุณลักษณะและตัวบ่งชี้ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Authors

  • ภาวนา กิตติวิมลชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เสาวนี สิริสุขศิลป์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

High-Performing Organization, HPO, องค์การสมรรถนะสูง, Indicators, ตัวบ่งชี้, Good Practices, แนวปฏิบัติที่ดี, Higher Education, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะองค์การสมรรถนะสูง 2. ศึกษาตัวบ่งชี้ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง 3. ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสถาบัน
อุดมศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง วิธีดำเนินการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะองค์การสมรรถนะสูงของนักวิชาการของไทยและต่างประเทศรวมทั้งผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การเป็น
องค์การสมรรถนะสูง รวมทั้งสิ้น 30 แนวคิดซึ่งครอบคลุมแนวคิดคุณลักษณะองค์การสมรรถนะสูงขององค์การที่แสวงหากำไร (Profit) และองค์การที่ไม่แสวงหากำไร (Non Profit) และศึกษาแนวปฏิบัติเพื่อนำมากำหนดตัวบ่งชี้โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งสำรวจความคิดเห็นและความเหมาะสมจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีผู้วิจัยได้ศึกษากรณีศึกษาที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติและรางวัลการบริหารจัดการภาครัฐ ผลจากการวิจัยพบว่าคุณลักษณะองค์การสมรรถนะสูงเรียงตามลำดับพบว่ามี 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสูง 2. ด้านการจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ด้านการออกแบบองค์การและการปรับปรุงกระบวนการ 4. ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการ 5. ด้านการสร้างนวัตกรรม 6. ด้านการมุ่งเน้นผลลัพธ์การปฏิบัติงาน 7. ด้านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และกำหนดตัวบ่งชี้ในการพัฒนาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงรวมทุกด้านได้จำนวน 71 ตัวบ่งชี้แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง เช่น 1. การกำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากร
2. การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล 3. การจัดการระบบสารสนเทศให้พร้อมใช้งานและมีการตรวจสอบความถูกต้อง 4. การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ฐานข้อมูลและปรับปรุงฐานข้อมูล 5. การส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบ
Mobile office และ e-University 6. การกำหนดตัวชี้วัดและมาตรฐานการปฏิบัติงาน 7. การเทียบเคียงสมรรถนะองค์การ 8. การบริการลูกค้าแบบเบ็ดเสร็จและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ 9. การสร้างบรรยากาศนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมการทำงานและนิสัยนวัตกรรม 10. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไปควรจะศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงและกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จโดยพิจารณาจากคุณลักษณะองค์การสมรรถนะสูงทั้ง 7 ด้าน เพื่อใช้เป็นแนวทาง
ในการประเมินจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งจะพัฒนาและยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง

Downloads

Published

2016-06-30

Issue

Section

Research Article