สถานการณ์การผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง : กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • จารุวรรณ วีระเศรษฐกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ขวัญกมล ดอนขวา สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Keywords:

Cassava, Nakhon Ratchasima, Production, Marketing

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ มีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลัง 250 ราย กลุ่มพ่อค้าคนกลางหรือกลุ่มผู้ประกอบการลานมัน 26 ราย และกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 14 ราย และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลและอธิบายด้วยสถิติเชิงพรรณนา
จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีพื้นที่ในการปลูกมันสำปะหลังจำนวนจำกัด ได้รับผลผลิตต่อไร่น้อย ปัญหาหลักในการผลิต คือ สภาพภูมิอากาศ ด้านการจำหน่าย เกษตรกรทราบเกณฑ์ว่ามีการประเมินราคาโดยคำนึงถึงปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังสดเป็นหลัก แต่ไม่สามารถกำหนดราคาพื้นฐานได้เอง โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการผลิต (ความต้องการขาย) ของมันสำปะหลังหัวสดมากที่สุด คือ ราคามันสำปะหลังและพื้นที่ในการปลูกมันสำปะหลัง และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความต้องการซื้อมันสำปะหลังหัวสดของผู้ประกอบการลานมันและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง คือ ราคามันสำปะหลังและราคาของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

แนวโน้มความต้องการมันสำปะหลังหัวสดเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีปริมาณสูงขึ้น และคาดว่าจะยังคงมีความต้องการสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับมันสำปะหลังประสบกับสภาวะการขาดแคลนวัตถุดิบ เกิดการแข่งขันทางด้านการตลาดเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ และส่งผลให้มันสำปะหลังมีราคาสูงขึ้น เกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับมันสำปะหลังต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้การปลูกและการผลิตผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแข่งขันได้ในภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

Downloads

Issue

Section

Research Article