การกำหนดคุณสมบัติและกระบวนการสรรหากับความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น

Authors

  • นำพงษ์ ไกยเดช

Keywords:

การกำหนดคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา ความเป็นอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ, qualifications, selection process, independence of judges, constitutional court

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิดและทฤษฎีในการกำหนดคุณสมบัติและกระบวน การสรรหากับความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (2) การกำหนดคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทยเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาการกำหนดคุณสมบัติ กระบวนการสรรหา และความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงหาแนวทางแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

การวิจัยเอกสารครั้งนี้เป็นการวิจัยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญของไทยเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น

ผลการวิจัยพบว่า (1) การกำหนดคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 205(3) ไม่เป็นรูปธรรม จึงส่งผลต่อกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนที่ผ่านมาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจจะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ (2) วุฒิสภามีอำนาจอย่างจำกัดที่จะไม่ให้ความเห็นชอบแก่บุคคลที่ได้รับเลือกจากองค์กรที่ทำหน้าที่สรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับหลักการคานและดุลอำนาจ (3) องค์กรที่ทำหน้าที่สรรหาไม่มีแนวปฏิบัติเดียวกัน จึงถูกแทรกแซงได้โดยง่าย

Abstract

The objectives of this study were (1) to study the concepts and theories in the qualifications and selection process and the independence of judges of the constitutional court; (2) to know the qualification and selection process and the independence of judges of Thai Constitutional Court comparing with foreign constitutional courts; (3) to know the problems and possible solution for the qualifications, selection process and the independence of Thai Constitutional Court.

This was a documentary research by studying constitutions of Thailand, the Federal Republic of Germany, the United States of America, the Republic of Korea and Japan.

The findings were as follows: (1) the qualifications of the persons under Section 205(3) are not concrete that cause the problems to the selection and election of judges of the Constitutional Court. In any interesting past cases the decision of the Constitutional Court rarely related to the actual intention of the constitution. (2) The Senate has limitted power to disapprove all or some of the nominated persons by the selecting organs. (3) The selecting organs have no the main regulation for carrying out the selection process as in the Federal Republic of Germany and the Republic of Korea.

Downloads

How to Cite

ไกยเดช น. (2014). การกำหนดคุณสมบัติและกระบวนการสรรหากับความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น. Creative Science, 5(10), 149–162. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/16863