การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง ระบบฐานข้อมูล ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ภาวินี อ้วนศรีเมือง Pawanee Ouansrimuang

Keywords:

บทเรียนบนเว็บ, การเรียนรู้แบบ TGT, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT เรื่องระบบฐานข้อมูลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT เรื่องระบบฐานข้อมูลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT ก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ก่อนเรียนและหลังเรียน (5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGTและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD (6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 2 ห้องเรียน ๆละ 32 คนรวม 64 คนซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม กำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุมเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD และกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) บทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT จำนวน 4 หน่วยการเรียน จำนวน 16 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ (3) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Independent Samples) และ HotellingT2 (Independent Samples)                        

 

คำสำคัญ : บทเรียนบนเว็บ, การเรียนรู้แบบ TGT, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD

 

Abstract

The purposes of the research were (1) to develop learning lesson using Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management in database system of Mattayomsuksa 5 students with an efficiency of 80/80, (2) to study an effectiveness index of the developed learning lessons using web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management in database system, (3) to compare learning achievement and critical thinking in database system of Mattayomsuksa 5 students after learning through Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management between pretest score and posttest score, (4) to compare learning achievement and critical thinking in database system of Mattayomsuksa 5 students after learning through STAD-based instructional management between pretest score and posttest score, (5) to compare learning achievement and critical thinking in database system of Mattayomsuksa 5 students between learning through Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management and STAD-based instructional management, (6) to investigate the satisfaction of Mattayomsuksa 5 students toward learning lessons using Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management in database system. The sample consisted of two classes of Mathayomsuksa 5 students attending Sawang Daen Din school, Sawang Daen Din district, Sakon Nakorn province in the first semester of the academic year 2013. There were 32 students in each class. The sample totally were 64 students which were selected by Simple Random Sampling. The sample were divided into two groups; a control group and an experiment group. The experiment group was taught by Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management and the control group was taught by STAD-based instructional management. The instruments used in this research were (1) Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management with 4 learning units for 16 hours (2) 40-items achievement test (3) 30-items critical thinking test (4) 15-items questionnaire of students' satisfaction toward Web-based instruction cooperated with TGT – based instructional management. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, t-test (independent samples), and HotellingT2 (Independent  Samples).

Keywords : Web-based Instruction, TGT-based Instructional Management, STAD-based Instruction

Downloads

How to Cite

Pawanee Ouansrimuang ภ. . อ. (2014). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่อง ระบบฐานข้อมูล ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บร่วมกับการเรียนรู้แบบ TGT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Creative Science, 6(12), 141–154. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/26436