ความคงตัวของสารสกัดหยาบจากเม่าหลวงในน้ำยาบ้วนปากสูตรมาตรฐานต่อการยับยั้ง Streptococcus จากช่องปาก

Authors

  • แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
  • นำพร อินสิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000

Keywords:

เม่าหลวง, ความคงตัวของสารสกัดหยาบ, Mao Luang, Stability of crude extract

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาความคงตัวของสารสกัดเม่าหลวงในน้ำยาบ้วนปากสูตรมาตรฐานหรือน้ำเกลือ 0.9% จากผลการศึกษาความคงตัวทางกายภาพพบว่า สีของสารสกัดฯ ในน้ำเกลือ 0.9% ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 80; 100; 120; 140 และ 160 mg/ml นั้นมีความคงตัวค่อนข้างน้อยมาก โดยมีสีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงเฉด Greyed-orange  ตลอด 30 วัน สำหรับค่าความเป็นกรดด่างพบว่า ทุกช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างในทุกระดับความเข้มข้นมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้น 160 mg/ml พบว่าค่า pH ที่วัดได้นั้นมีความต่างกันตลอด 5 ช่วงเวลาที่ทำการเก็บตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ในขณะที่การวัดค่าการดูดกลืนแสง (ที่ 520 nm) ของสารสกัดฯ ที่ผสมในน้ำเกลือ 0.9% พบว่ามีความสอดคล้องกับค่าความกรดด่างที่มีค่าลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะที่ระดับความเข้มข้น 80 และ 100 mg/ml พบว่ามีค่าการดูดกลืนแสงที่แตกต่างกันตลอด 5 ช่วงเวลาที่ทำการเก็บตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการศึกษาความคงตัวทางชีวภาพของสารสกัดฯ ในการยับยั้ง Streptococcus 3 สายพันธุ์ คือ S. constellatus; S. salivarius และ S. mitis 1 ด้วยวิธี paper disc diffusion agar พบว่า ระยะเวลาค่อนข้างมีผลต่อความคงตัวของฤทธิ์ในการยับยั้ง Streptococcus ทั้ง 3 สายพันธุ์ จะเห็นได้จากการเก็บตัวอย่าง 3 ครั้งคือ วันที่ 1; 7 และ 15  มีผลทำให้ขนาดของบริเวณยับยั้ง Streptococcus ลดลงในทุกความเข้มข้นของสารสกัดฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  ยกเว้นในวันที่ 23 และ 30 ที่ไม่พบการยับยั้ง Streptococcus ทุกสายพันธุ์ที่ระดับความเข้มข้น 80 ถึง 120 mg/ml นั่นคือระดับความเข้มข้นของสารสกัดฯ ที่สูงกว่าจะสามารถยับยั้ง Streptococcus ได้ดีหรือมากกว่าที่ระดับความเข้มข้นต่ำ ถึงแม้เวลาจะผ่านไปถึงวันที่ 23 และ 30 โดย ณ ที่ระดับความเข้มข้น 140 และ 160 mg/ml ก็สามารถยับยั้ง Streptococcus ทั้ง 3 สายพันธุ์ได้ จากการวิจัยครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเม่าหลวงมีความคงตัวทางชีวภาพค่อนข้างต่ำ ดังนั้นในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในรูปแบบต่างๆ อาจจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลถึงความคงตัวของฤทธิ์ในการต้านจุลินทรีย์ รวมถึงระดับความเข้มข้นของสารสกัดฯ ที่เหมาะสมเพียงพอในการต้านจุลินทรีย์แต่ละกลุ่มชนิดร่วมด้วย

คำสำคัญ : เม่าหลวง, ความคงตัวของสารสกัดหยาบ

 

Abstract

This study aimed to study of stability of Mao Luang (Antidesma thwaitesianum Muell. Arg.) crude extract in standard formula mouthwash against oral Streptococci bacteria. The physical stability study of 5 differential levels of the extract concentration as followings: 80; 100; 120; 140 and 160 mg/ml dissolved in 0.9% saline were  performed and found a low stability.  The extract color of all conditions were changed in the shade of Greyed-orange throughout 30 days. The pH of all samples were shown the trends to decline at each level of concentration. In particular; the concentrations level of 160 mg/ml had shown the significantly different of pH in 5 sampling times at a confidence level of 95%. While absorbance measuring (at 520 nm) of the extract dissolved in 0.9% saline were related with the reduced pH value. In particular; the concentrations level of 80 and 100 mg/ml were found the significantly different of the absorption throughout 5 sampling times. For the study of  biological stability of the extracts to inhibit three  strains of Streptococcus as followings: S. constellatus; S. salivarius and S. mitis 1 by using  paper disc diffusion agar method was determined. The result shown the time to affect the stability of the inhibitory effect. The three sampling times at day 1; 7 and 15 had shown the reducing of the Streptococcus inhibition zone significantly at a confidence level of 95%; except on day 23 and 30 that were no Streptococcus inhibition in all strains at concentrations of 80 to 120 mg/ml. From the results indicated that the higher extract concentration could inhibit Streptococcus better than at low concentrations. By at concentrations of 140 and 160 mg/ml could inhibit 3 strains of Streptococcus up to 23 and 30 days. This study demonstrates the Mao Luang crude extract had a relatively low biological stability. Therefore; applications for medicinal products that capable anti-pathogenic bacteria in different forms may need to learn more about the factors that affect the stability of the effect of antimicrobial particular with the study of appropriate extract concentration for anti-microbial in each group of pathogen.

Keyword : Mao Luang, Stability of crude extract

Downloads

How to Cite

โสตถิสวัสดิ์ แ., & อินสิน น. (2013). ความคงตัวของสารสกัดหยาบจากเม่าหลวงในน้ำยาบ้วนปากสูตรมาตรฐานต่อการยับยั้ง Streptococcus จากช่องปาก. Creative Science, 4(8), 77–88. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9942