การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • สุพรรณิกา สืบสิมมา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโอนดาว

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโดนอาว อำเภอกันทรลักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 เลือกมา โดยการสุ่มอย่างง่าย 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เพื่อสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็น แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ .30 - .70, ค่าอำนาจจำแนก .21 -.58 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 3) แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ย่อยที่บรรจุในบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับตั้งแต่ .80-.85 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที แบบกลุ่มสัมพันธ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.80/83.03

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลัง เรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระดับมาก ( \inline \bar{X} = 4.45)

4. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องอสมการ กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนหลังเรียน และหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop the computer assisted instruction program on Inequality lesson for Matthayom Suksa 3 students to meet the standard criteria of 80/80, 2) to compare the mathematics learning achievement before and after learning through the computer assisted instruction program on Inequality, 3) to study the satisfaction of the students towards the computer assisted instruction program on Inequality, and 4) to study the retention rate of the mathematics learning through the computer assisted instruction program on Inequality of Matthayom Suksa 3 students. The sample was 35 students of Matthayom Suksa 3 of Ban Donao School in Kuntaraluk District, Srisaket Province, selected by the simple random sampling. The research instruments were 1) the computer assisted instruction program on Inequality lesson for students of Matthayom Suksa 3 students. 2) the achievement test entitled Inequality consisting 30 items of 4 multiple choices test with the difficulty indices ranged from .30 to .70, the discrimination indices ranged from .21 to .58 and the reliability value was .89. 3) The exercises at the end of the learning unit consisting 50 items of 4 multiple choices test with the reliability of the test from .80 to .85. 4) The satisfaction evaluation form consisting 20 items of rating scale question on the learning toward the computer assisted instruction lesson. The collected data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The research findings were as follows : 1) The mathematics computer assisted instruction program on Inequality lesson for Matthayom Suksa 3 students indicated an efficiency value of 82.80/83.03. 2) The learning achievement after the experiment through the computer assisted instruction lesson was significantly higher than that of before the treatment at the level of .01. 3) Matthayom Suksa 3 students’ satisfaction toward the computer assisted instruction program on Inequality lesson in total were at the most favorable level. ( \inline \bar{X} = 4.45) 4) There was no significantly difference between the scores from the first post – test and the second post – test, taken two weeks later. This means that the computer assisted instruction helps the students retain the knowledge longer.

Downloads

How to Cite

สืบสิมมา ส. (2013). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Creative Science, 3(6), 99–110. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9989