การออกแบบการวิจัย

Authors

  • สุเทพ การุณย์ลัญจกร อาจารย์ประจำสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Keywords:

การออกแบบการวิจัย, แบบการวิจัย

Abstract

บทคัดย่อ

หนังสือชื่อ “การออกแบบการวิจัย” นี้เหมาะสมสำหรับผู้สนใจที่จะศึกษาวิธีวิทยาทางการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ และการเปลี่ยนฐานคิดจากกระบวนทัศน์ทางการวิจัยหนึ่งไปสู่อีกกระบวนทัศน์หนึ่ง ผู้ศึกษาหนังสือนี้ สามารถรับหรือปรับใช้วิธีวิทยาทางการวิจัยที่อยู่ในกระบวนทัศน์นั้น ๆ มาเป็นฐานในการวิจัยของตนเอง นำไปสู่ การออกแบบการวิจัยที่ตัวเองเป็นผู้วางโครงสร้างและแนวทางในการดำเนินการวิจัย และสามารถตอบปัญหาการ วิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของเนื้อหาที่นำเสนอในหนังสือนี้มีหลายบทที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงทดลอง ทางพฤติกรรมศาสตร์ การวิจัยแบบลุ่มลึกด้วยวิธีวิทยาทางการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการตาม ทฤษฎีสังคมศาสตร์เชิงวิพากษ์ ส่วนเนื้อหาอื่น ๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านให้เข้าใจได้อย่าง ลึกซึ้งในรูปแบบการวิจัยต่าง ๆ กัน เพื่อจะได้นำเอาความรู้ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลาย ๆ ส่วนประกอบกันไปใช้ใน การออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม และนำไปสู่การได้รับการยอมรับในคุณค่าของงานวิจัยที่ผ่านการวางโครงสร้าง และแนวทางในการดำเนินการอย่างดีโดยชุมชนทางวิชาการ

คำสำคัญ : การออกแบบการวิจัย, แบบการวิจัย

 

Abstract

This book entitled “Research Design” is suitable for those who are interested in studying a social sciences research methodology and in a school of thought as ground for a shift from one research paradigm to another of all the emerging ones. Those who study this book are able to adopt or adapt a social sciences research methodology existing in a particular research paradigm for being applied as basis for doing their own research until it leads to a research design which is well structured and planned and able to answer to the research problems raised efficiently. The main points of the contents presented in this book include experimental research in the behavioral science, in-depth study via qualitative research methodology, and action research based on the critical social sciences theory. Equally important are other contents which can be read profoundly such as different types of research in order that one or several parts of the knowledge can be brought to designing an appropriate research and it will lead to being accepted in the value of well-structured-and-planned research by the academic community.

Downloads

How to Cite

การุณย์ลัญจกร ส. (2013). การออกแบบการวิจัย. Creative Science, 3(6), 133–137. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9992