คนรุ่นใหม่กับความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของชุมชน

Authors

  • ชนินทร์ วะสีนนท์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทนำ

ความเป็นชุมชนได้ดำรงอยู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน แต่ในระยะที่ผ่านมากว่าครึ่งศตวรรษ ชุมชนได้ ถูกทำลายลงไปอย่างมากจากการพัฒนาตามกระแสหลักที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้เป็นหลัก สมาชิกในชุมชน หลายๆชุมชนโดยเฉพาะสมาชิกในเครือข่ายอินแปง (ชนินทร์ วะสีนนท์.2549) จึงร่วมกันหาทางออกในการ จัดการทรัพยากรของชุมชนโดยยึดการพึ่งพาตนเอง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการกำหนดทิศทางการพัฒนา ได้ด้วยตนเอง ความเป็นชุมชนเริ่มฟื้นกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง แต่มีข้อที่น่าวิตกกังวลว่าหากหมดยุคสมัยของคน ที่ต่อสู้ผจญกับอุปสรรคไปแล้ว ความยั่งยืนของความเป็นชุมชนเครือข่ายอินแปงจะสามารถดำรงตนข้ามพ้นยุค สมัยแห่งกาลเวลาได้อย่างไร จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่เกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืนของชุมชน (ชนินทร์ วะสีนนท์. 2549) พบว่า คนรุ่นใหม่เป็นคำตอบ คนรุ่นใหม่กลายเป็นความหวังของความยั่งยืนของชุมชน แต่ อย่างไรก็ตามคนรุ่นใหม่ที่สามารถอยู่กับชุมชนได้นั้นต้องมีกระบวนการสรรค์สร้างให้เกิดขึ้น เพราะหากปล่อย ให้เกิดขึ้นตามธรรมชาติภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์นั้น คงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้การที่คนรุ่นใหม่จะอยู่กับ ท้องถิ่นได้ก็มีองค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่เช่นกัน ดังนั้น การสรรค์สร้างคนรุ่น ใหม่ให้อยู่กับชุมชนกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของความเป็นชุมชนในสังคมไทยอย่างยิ่ง

Downloads

How to Cite

วะสีนนท์ ช. (2013). คนรุ่นใหม่กับความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของชุมชน. Creative Science, 3(5), 19–26. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9996