รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตําบล ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ศิริเทพ วีระภัทรกุล

บทคัดย่อ

                  การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาหาสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของเทศบาลตำบล                   2) ศึกษาระดับความสำเร็จการดำเนินงานของเทศบาลตำบล 3) ศึกษาปัจจัยสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบล และ 4) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์  ผู้วิจัยใช้ วิธีวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรสายงานบริหารของเทศบาลตำบล  จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากประชากร สมาชิกสภาเทศบาล  ข้าราชการประจำและพนักงานเทศบาลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งหมด 57 แห่ง จำนวน 2,718 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้หน่วยตัวอย่างจำนวน 349 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติวิเคราะห์ ใช้ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) และ วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis  : R2 )  กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ ขั้นตอนที่ 3 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักบริหารงานเทศบาล และนักวิชาการ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา อธิบายและตีความเทียบเคียงกับบริบทการวิจัย โดยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction)


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. การสังเคราะห์ปัจจัยสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ พบปัจจัยสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ ปัจจัยสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร ด้านการจัดการสาธารณะ ด้านการบริหารบ้านเมืองที่ดี ด้านสื่อสารสาธารณะ และด้านสภาพแวดล้อมของเทศบาล

  2. ระดับความสำเร็จการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  0.65  เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการนำองค์กร  ด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน  ด้านการจัดกระบวนการ  ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ค่าเฉลี่ย  เท่ากับ  3.88, 3.85, 3.83, 3.82, 3.80, 3.78, และ 3.77  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ  0.67, 0.68, 0.74, 0.69, 0.76, 0.70, และ 0.67 ตามลำดับ

  3. ปัจจัยสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบล ได้แก่ สมรรถนะด้านการบริหารบ้านเมืองที่ดี สมรรถนะด้านการสื่อสารสาธารณะ สมรรถนะด้านการจัดบริการสาธารณะ สมรรถนะด้านพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรและสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบุคลากร ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบคือ .334, .338, .088, .184, และ -.110 ตามลำดับ ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ .368, .418, .116, .137 และ -.077 ตามลำดับ โดยที่ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 5 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณ(R) เท่ากับ .872 สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 76.00 (R2= 0.760, F= 217.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 4.  รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะที่มีผลต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 1)สมรรถนะด้านการบริหารบ้านเมืองที่ดี  2)สมรรถนะด้านการสื่อสารสาธารณะ 3)สมรรถนะด้านการจัดบริการสาธารณะ             4)สมรรถนะด้านพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรและ 5)สมรรถนะด้านคุณลักษณะของบุคลากร อันจะนำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จการดำเนินงานของเทศบาลตำบล

Article Details

บท
บทความ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2555 ). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : เอเชียเพลส.

คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจประสานแนวทางการพัฒนาการบริหารงานของเทศบาลตำบล. (2540 ). รายงานการประชุมครั้งที่ 1/2540 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540. กรุงเทพฯ: กองประสานการพัฒนาชนบท สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ถ่ายเอกสาร.

จารุพงศ์ พลเดช . (2546). การบริหารแบบมีส่วนร่วมและการให้อำนาจปฏิบัติ. วารสารพัฒนาชุมชน 42(4).13-18.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงลักษณ์ พงษ์สวัสดิ์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในองค์การ กับการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของบริษัทในเครือ เอเอเอส กรุ๊ป.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปริมพร อำพันธ์. (2548). ความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบการให้บริการของกทม.ศษ. เขตบางขุนเทียน.วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ปิยะนุช เงินคล้าย. (2540). การสำรวจทัศนคติและความพร้อมของประชาชนต่อการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ:
กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พนม เพชรจตุพร. (2550). สมรรถนะ (Competency). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 2550. เอกสารประกอบการบรรยาย

พลินี อัศวรุจานนท์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานของบริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รวีวรรณ เผ่ากัณหา. (2548 ). สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารระดับภาควิชา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2546). การบริหารบุคคลภาครัฐ กระแสใหม่และสิ่งที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ : จุดทอง.

สมยศ นาวการี. (2546). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

เสน่ห์ จุ้ยโต (2553). การพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงาน ก.พ.ร. (2554). คู่มืออธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์. (2557). รายงานการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ประจำปี 2557. บุรีรัมย์ : สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์.

องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2542). รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.