พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

Main Article Content

อรวรรณ จันทร์ชลอ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในวิทยาลัยที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1/2559 จำนวน 558 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าไคสแควร์ และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามากกว่าครึ่งใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การบันเทิงและธุรกิจในระดับมาก (ร้อยละ55 - 60.8) นักศึกษาที่เรียนในคณะต่างกันมีความถี่ในการใช้แตกต่างกัน  นักศึกษาใช้ไลน์มากกว่าเฟซบุ๊ก  (72.8, 68.8 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบของความถี่ในการใช้ไลน์และเฟซบุ๊ก  ระหว่างคณะและระหว่างชั้นปี พบว่าความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบ Slow Life ของนักศึกษาพบว่าในภาพรวมนักศึกษามีการดำเนินชีวิตแบบ Slow Life ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมนักศึกษาระหว่างคณะพบความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความ

References

กฤษณา บุตรปาละ. (2550.) “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย”.รายงานการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เลย.

โชติกา ประพฤทธิกุล.(2547) “สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยี
การศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2557:9 ) พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.
วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์- พฤษภาคม 2557.

พรรษพล มังกรพิศม์ .(2553:66-74) เฟซบุ๊ก ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ : Brand Age ปีที่ 11 ฉบับที่ 5 ( มิ.ย. 2553)
ภัทรา เรืองสวัสดิ์. (2553.) รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานใน
เขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาธรรมศาสตร์.

สุพรรณา เอี่ยมสะอาด. (2552.) การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย), Digital Advertising Association (Thailand), DAAT.
https://www.marketingoops.com/reports/infographic-reports/thailand-online-overview-q 1-2016

Alnahdi.G. (2014.) “ Assistive technology in special education and the universal design for learning.”
The Turkish online Journal of Educational Thechnology,13 (2).