ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสาร ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ฐิติมา พูลเกษม

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์(ด้านการเขียน) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์(ด้านการเขียน) หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 5) เพื่อศึกษาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์(ด้านการนำเสนอ) ระหว่างเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน ในจังหวัดสุโขทัย  ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและ            การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และ 3) แบบบันทึกการสังเกตการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระและทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว


                   ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์(ด้านการเขียน) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4) นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์(ด้านการเขียน) หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 5) นักเรียนมีการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์(ด้านการนำเสนอ) คิดเป็นร้อยละ 80 และนักเรียนมีผลการพัฒนาคงที่คิดเป็นร้อยละ 20


                   โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการในการแก้โจทย์ปัญหาและเกิดความคุ้นเคยกับโจทย์ทางคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งนักเรียนยังได้มีโอกาสแสดงแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและรับฟังแนวทางการแก้ปัญหาจากผู้อื่น ส่งผลให้นักเรียนเกิดการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสาร              ทางคณิตศาสตร์

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กาญจนา สมบัติ. (2553). การเสริมสร้างการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า: กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การส่งสินค้า
และพัสดุภัณฑ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์.โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,
กรุงเทพมหานคร.

สุณิสา สุมิรัตนะ. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนต้น โดยใช้แนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC.
วิทยานิพนธ์ คม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุรชัย วงค์จันเสือ. (2555). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิด DAPIC และ CGI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3.วิทยานิพนธ์ คม.,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อัมพร ม้าคะนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. ศูนย์ตำราและเอกสารทาง
วิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Meier, S.L.,Hove,R.L.and Mier,R. L. (1996). Problem Solving:Teacher’Perceptions, Content Area, Model, and
Interdisciplinary Connection. School Science and Mathematics.

National Council of Teacher of Mathematics(NCTM). (1989). Curriculum and EvaluationStandards for School
Mathematics.Reston,VA:NCTM.