ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุชายชาวญี่ปุ่น ตัดสินใจแต่งงานข้ามวัฒนธรรมกับผู้หญิงไทย :กรณีศึกษาในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ชิดชนก เทพบัณฑิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุชายชาวญี่ปุ่นตัดสินใจแต่งงานข้ามวัฒนธรรมกับผู้หญิงไทยจากทั้งสองฝ่าย และ เพื่อเข้าใจกระบวนการสร้างภาพแทนที่ตายตัว (Stereotype) ที่มีต่อผู้หญิงไทยของผู้สูงอายุชายชาวญี่ปุ่นที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจแต่งงาน โดยการศึกษาเป็นรายกรณี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์คู่สมรสข้ามวัฒนธรรม จำนวน 15 คู่ ในจังหวัดเชียงราย


จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุชายชาวญี่ปุ่นตัดสินใจแต่งงานข้ามวัฒนธรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2มิติ  มิติด้านแรกคือปัจจัยในด้านผู้ชายญี่ปุ่น การตัดสินใจแต่งงานกับผู้หญิงไทยของผู้ชายญี่ปุ่นนั้นประกอบด้วยปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวทั้งหมด 5 ด้าน มิติอีกด้านหนึ่ง คือการพิจารณาปัจจัยจากด้านผู้หญิงไทยซึ่งเป็นส่วนประกอบให้ผู้ชายญี่ปุ่นตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นเนื่องจากผู้หญิงไทยเองยอมรับในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมนี้ซึ่งสาเหตุนี้เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจและครอบครัวไทยทั้งหมด 4 ด้าน ด้วยพลวัตของทั้งสองมิตินี้เองจึงทำให้เกิดการสร้างภาพแทนที่ตายตัว (stereotype) ซึ่งภาพที่อยู่ในอุดมคติของผู้ชายญี่ปุ่น คือผู้หญิงไทยความคล้ายคลึงกับผู้หญิงญี่ปุ่นที่มีความเป็น “แม่และเมีย” ที่คอยเอาใจใส่ทุกอย่าง ซึ่งกลายเป็นปัจจัยที่ปรับรวมเข้าหากันจากทั้งสองฝ่าย ที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญของการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม 

Article Details

บท
บทความ

References

กนกวรรณ ธราวรรณ. (2555). รัฐไทยกับชีวิตคู่แบบเพศนอกขนบ: ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย.
มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (17 มีนาคม พ.ศ. 2551). เพศที่ชอบธรรม : ความรัก การแต่งงาน ผัวเดียวเมียเดียว.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2549). การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของผู้หญิงชนบทในเขตจังหวัดอุดรธานี. คณะสังคมวิทยา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีสุดา โสภา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของชาวญี่ปุ่นที่มาพำนักระยะยาว (long stay) ในจังหวัดเชียงใหม่.
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Kumagai Fumie. (2015). Late-Life Divorce in Japan Revisited: Effects of the Old-age Pension Division Scheme.
Tokyo: Kyorin University.

Shibuya Miwa. (2012). Living in Two Countries: Migration Life for Japanese Retirees. Regional Center for Social
Science and Sustainable Development: Chiang Mai University.

Suriya Smutkupt & Pattana Kitiarsa. (2014). Cross-Border Hypergamy and Gendered Agency: Farang Husbands and
Isan Wives on the Global Cultural Stage. Ethnicity, Borders, and the Grassroots Interface with the State:
Studies on Mainland Southeast Asia in Honor of Charles F. Keyes: 215 - 243.

Breger,Rosemary & Hill,Rosanna. (2005).『異文化結婚 ――境界を越える試み』. 東京:新泉社.
Murase Yukihiro. (2013).「高齢者のセクシュアリティと結婚、離婚、再婚」『現代の結婚・離 婚』.
東京: 金子書房.

Yoshida Masanori. (2010). 『異文化結婚を生きる―日本とインドネシア/文化の接触・変容・再創造』.
東京: 新泉社.