การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วราภรณ์ ศรีนาราช
มณี จำปาแพง
อภิญญา จิตมโนวรรณ
สุดารัตน์ พญาพรหม
ศุภธิดา นันต๊ะภูมิ
รัตน์ติกุล บัวจันทร์
Paul David
Robert Tuck

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล เพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล และเพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแลซึ่งใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง 5 คน และกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความต้องการด้านเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม 2) หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล  3) แบบประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการฝึกอบรม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล พบว่าผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเฉพาะด้านการสื่อสาร คือ ฟัง และพูด ความต้องการด้านเนื้อหาสำหรับหลักสูตรฝึกอบรมจะเป็นการแนะนำและสนทนากับนักท่องเที่ยวตามกิจกรรมจุดท่องเที่ยวต่าง ๆ (2) ผลการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายองค์ประกอบในหลักสูตร ประกอบด้วย คำนำ หลักการของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตรได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมด้านส่วนประกอบและความสอดคล้องของหลักสูตร โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ผลพบว่าร่างหลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ในทุกข้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าส่วนประกอบของร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและเป็นไปตามความต้องการของชุมชน (3) ผลการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการฝึกอบรมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการฝึกอบรม (x̄=4.35, S.D.= 0.81) สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (x̄=4.2, S.D.= 0.70) และ (4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายโดยภาพรวมอยู่ในระดับ      พึงพอใจมากที่สุด (x̄=4.78, S.D.= 0.39)

Article Details

บท
บทความ

References

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. ปัตตานี :
ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ฐานข้อมูลรางวัลพระปกเกล้า.(2556).สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2556.
จาก http://www.kpi.ac.th/kpiaward/index.php?option=com_content&view=article&id=327:-
2553-1-&catid=87:2010-07-26-15-34-26&Itemid=57.

ณัฐกานต์ เรือนคำ. (2546). การพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นเรื่องการปลูกพืชที่สำคัญของชุมชนบ้านสันทะ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์หลักสูตร
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการประถมศึกษา.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพีร์พร อักษรศรี. (2553). รูปแบบการเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวชุมชนกรณีศึกษาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาเพื่อการ พัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ราชนครินทร์.

วิรัตน์ จันเลน. (2556). หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลนางแล. สัมภาษณ์วันที่ 2 กรกฏาคม 2556.

วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ
บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์หลักสูตร ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุมิตร คุณานุกร. (2532) . หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.

อุดม เชยกีวงศ์. (2545). หลักสูตรท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคร: กรุงธนพัฒนา.