การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ปทุมวดี พันธ์สืบ
สมลักษณ์ เลี้ยงประยูร
สมลักษณ์ จันทรมาศ
พิชญ์ธัชกิต ธนวัฒน์โอภาส
ชิดชนก ยมจินดา
วริทธิ์ สร้อยตาจุรนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาและพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เกี่ยวข้องที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ 1) ตัวแทนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี (อบต. วาวี) จำนวน 10 คน และ 2) ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) ประธานชนเผ่าวาวีและหมอพิธีกรรมของแต่ละหมู่บ้าน  ในพื้นที่วิจัยชุมชน ตำบลวาวี จำนวนทั้งสิ้น 30 คน  เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ (1) แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลในเรื่องบริบทชุมชนโดยรวม จากตัวแทนของผู้นำชุมชนภาครัฐบาล จากตัวแทนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี (อบต. วาวี) และ (2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อเก็บข้อมูลกับผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) ประธานชนเผ่าวาวีและหมอพิธีกรรมของแต่ละหมู่บ้าน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ และวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว (Infrastructure) ทฤษฎี SWOT Analysis และทฤษฎี 5As ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้นำมาวิเคราะห์ถึงสภาพข้อมูลที่ได้กับสภาพความเป็นจริงของการรักษาวัฒนธรรมโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งแยกเป็น 4 ด้าน ได้แก่  ด้านภาษา  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  การสืบทอดประเพณี/ความเชื่อ และการนับถือศาสนา


ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนวาวีมีความโดดเต่นในเรื่องวัฒนธรรมชนเผ่าที่หลากหลายทางด้านภาษา  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  การสืบทอดประเพณี/ความเชื่อ และการนับถือศาสนา รวมถึงมีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การจัดงานเทศกาลของชุมชน แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังพบว่าพื้นที่ตำบลวาวีมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ที่โดดเด่น ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะพัฒนาฐานข้อมูลในรูปแบบของการจัดทำปฏิทินวัฒนธรรมชนเผ่า  แผ่นพับ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลลงเวปไซต์ของทางองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการหาแนวทางพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความ

References

กรมการท่องเที่ยว, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานสรุปการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศในเดือนมีนาคม ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2559. จาก www. tourism.go.th.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2558). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2559 จาก http://tourism-dan1. blogspot.com/

ข้อมูลอำเภอแม่สรวย. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2559. จาก https://sites.google.com/site/land4sale sinmaesuay/khxmul-xaphex-maesrwy-canghwad-cheiyngray.

งานพัฒนาชุมชน สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี. (2558). แผนพัฒนาสามปี 2558-2560. องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ: บริษัทเพรส แอนด์ ดีไซน์ จํากัด.

ปวีณา โทนแก้ว. (2554). การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าลีซอ จังหวัดเพชรบูรณ์. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. จังหวัดเพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

มติชน (กรอบบ่าย, 5 มิถุนายน 2555). ข่าวเศรษฐกิจ. หนังสือพิมพ์มติชน : กรุงเทพฯ.

มนัส สุวรรณ. (2545). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน.กรุงเทพฯ: กองวางแผนโครงการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Sydney: Hodder Education.