การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวจีนกับประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย : ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

สหัทยา สิทธิวิเศษ
ซิมมี่ อุปรา
สมยศ จันทร์บุญ
อัลณิกา ต๊ะบุญเรือง
สุริยา เกษตรสุขถาวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างชาวไทย ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ที่เป็นชาวไทยที่มีปฏิสัมพันธ์กับชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือทำการค้ากับชาวไทยในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนรวมทั้งสิ้นจำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างชาวจีน ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ ที่เป็นชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจและมีปฏิสัมพันธ์กับชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม      


                ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวไทยในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายที่ชาวไทยพบเมื่อมองจากค่านิยมชาวไทย สูงที่สุด 3 ลำดับ คือ ปัญหาการจราจร ร้อยละ  64.44 ปัญหาด้านสุขภาวะ ร้อยละ 62.22  ปัญหาด้านวัฒนธรรมการใช้ภาษา ร้อยละ 63.33 ตามลำดับ


                ปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายที่ชาวจีนพบเมื่อมองจากค่านิยมชาวจีนสูงที่สุด 3 ลำดับ คือ ปัญหาอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ  26.66 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและมิตรภาพคิดเป็น            ร้อยละ 11.66  ด้านคุณธรรม ร้อยละ 10  ด้านหน้าตาและศักดิ์ศรี ร้อยละ 10 และด้านความเป็นหมู่คณะร้อยละ 10 


                แนวทางในการแก้ไขปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของประชาชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงรายได้ 2 แนว คือ การป้องกัน และการแก้ปัญหา

Article Details

บท
บทความ

References

ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2553). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรันดร์ ภิระบรรณ์. (2558). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 ณ หอประชุมโรงเรียนแม่สายประสิทธ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย
จังหวัดเชียงราย.

เมตตา วิวัฒนนุกุล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิศรา สถาปนเศรษฐ์. (2558). Nation TV Breaking News. ข่าวเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558.

Bennett, J. (1993). Cultural marginality: Identity issues in intercultural training. In R.M. Paige (ed.), Education for the
intercultural experience. Yarmouth, ME: Intercultural Press, 109-136.

Bennett, Milton, J. (1998). Intercultural communication: A current perspective. In Milton J. Bennett (Ed.), Basic concepts
of intercultural communication: Selected readings. Yarmouth, ME: Intercultural Press.

Brustein,W. (2003). Personal communication. Pittsburgh, Pennsylvania.

Konwar, J, and Barman, A. (2003, Retrieve 17th September 2016). Global Competency Matrix: Re-Validation for
Professional and Technical Students AIMS-International Journal of Management, Forthcoming. From
http://ssrn.com/abstract=1671224.

Schwartz, S. H. (2012). An Overview of the Schwartz Theory of Basic Values. Online Readings in Psychology and Culture,
2(1). From http://dx.doi.org/10.9707/2307-0919.1116.