คุณค่าของปราสาทศพในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณรงค์ เจนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการใช้ปราสาทศพและคุณค่าของปราสาทศพในจังหวัดเชียงราย ประชากรในการศึกษาได้แก่ ช่างหรือสล่าที่ทำปราสาทศพ ผู้รู้ที่มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับปราสาทศพ และเจ้าภาพที่จัดงานศพ ในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงเนื้อหาเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ การศึกษาพบว่าประวัติความเป็นมาของการใช้ปราสาทศพในจังหวัดเชียงรายพบว่าในอดีตปราสาทศพใช้สำหรับเจ้านายชั้นสูงของสังคม และพระสงฆ์ทรงสมณะศักดิ์หรือพระสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากเป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปเท่านั้น ต่อมาในภายหลังได้แพร่หลายมาสู่สามัญชนจนถึงปัจจุบันซึ่งจะมีการกำหนดลักษณะรูปทรงของปราสาทศพตามแต่สถานภาพของคนในสังคม สำหรับคุณค่าของปราสาทศพพบว่าปราสาทศพได้สร้างคุณค่าแก่สังคมในจังหวัดเชียงราย ในด้านคุณค่าด้านสังคม ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ด้านการศึกษา และ ด้านเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความ

References

ณรงค์ เจนใจ. (2558). การศึกษาองค์ความรู้ปราสาทศพในจังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บุญคิด วัชรศาสตร์.(มปป.). อานิสงส์เสียศพ.โรงพิมพ์ธาราทอง. เชียงใหม่.

พระครูพิสุทธิ์พัฒนพิธาน (ประพันธ์ ภท.ทสิริ). (2548). พิธีกรรมงานศพในจังหวัดลำปาง และอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระครูอรัญเขตพิทักษ์. (2546). พระสงฆ์กับความเชื่อเรื่องนรกและสวรรค์ : กรณีศึกษาพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา.บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏเลย.

พระมหาจรัญ จิตฺตสํวโร (กันธิมา). (2553). การศึกษาแนวคิดความเชื่อเชิงวัฒนธรรมในการสร้างปราสาท ศพ ของชาวพุทธล้านนา. วิทยานิพนธ์นี้หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณี พะยอมยงค์ และศิริรัตน์ อาศนะ. (2549). เครื่องสักการะล้านนาไทย. เชียงใหม่, ส.ทรัพย์การพิมพ์.

วัฒนศักดิ์ ไชยกุล. (2546). บริบททางวัฒนธรรมและสังคมของการทำปราสาทในจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรีเลา เกษพรม. (2544). ประเพณีชีวิตคนเมือง. (พิมพ์ครั้งที่2). สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิธาน สมใจ. (2541). งานศพล้านนาปราสาทนกหัสดีลิงค์สู่ไม้ศพ.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.