เคล็ดลับพุทธวิธีการเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุ

Main Article Content

พระครูกิตติพัฒนานุยุต -

บทคัดย่อ

     บทความเรื่อง เคล็ดลับพุทธวิธีการเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาและสาระสำคัญของอายุวัฒนกุมารวัตถุ และวิเคราะห์เคล็ดลับพุทธวิธีการเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุ  เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสาร จะเห็นได้ว่าการมีอายุยืนอย่างมีคุณค่า คือ การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่อาลัยกับอดีต และไม่พะวงกับอนาคต สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับชีวิตผ่านโอกาสและเวลาปัจจุบันของตนเอง เพื่อประโยชน์สุขอันเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต หลักพระพุทธศาสนาเน้นการสร้างสุขภาพหรือภาวะที่เป็นสุขแบบองค์รวมให้กับระบบของชีวิต 4 ด้านคือ การเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุด้วยพระปริตร การเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุด้วยการให้ทาน การเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุด้วยการรักษาศีล การเจริญอายุในอายุวัฒนกุมารวัตถุด้วยการเจริญสมาธิภาวนา โดยเน้นการพัฒนาจากธรรมชาติภายในชีวิตคือพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา อันส่งผลต่อชีวิตซึ่งดำเนินไปโดยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับธรรมชาติภายนอกทั้งทางกายและทางสังคมดังนั้นพระพุทธศาสนาให้ความสําคัญแก่อายุ ซึ่งในบาลีมากมายได้ปรากฏพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงอายุเช่น “ยาวุปปฺปตฺติ นิมิสฺสติ ตตฺราปิ สรตี วโย” แปลว่า วัยย่อมเสื่อมลงไปเรื่อยทุกหลับตา ทุกลืมตา และ “กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตตนา” แปลว่า กาลเวลาย่อมกลืมกินสัตว์ทั้งหลายพร้อมกันไปกับตัวมันเอง และ “ยสฺส รตฺยา  วิวสาเน      อายุ อปฺปตรํ สิยา” แปลว่า วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยทุกที และ “ยถา วาริวโร ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ เอวมายุ มนุสฺสานํ คจฺฉํ น ปริวตฺตติ” แปลว่า แม่น้าเต็มฝั่ง ไม่ไหลขึ้น สู่ที่สูงฉันใด อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก

Article Details

บท
บทความ

References

กองวิชาการ. (2539). ประเพณีมงคลไทย. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์สมุดกลาง.

ไกรสรี นิมมานเหมินท์ และคณะ. (2521). ลานนาไทยคดี. เชียงใหม่ : ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.

คณะสงฆ์ คณะศิษย์ คณะราชการศรัทธาประชาชน. (2518). พิธีอบรมสมโภชพระพุทธรูปและพิธี สืบชะตา สะเดาะ
เคราะห์ เชียงใหม่. พิมพ์ถวายเป็นอนุสรณ์งานทำบุญอายุครบรอบพระเทพวิสุทธาจารย์.

จินตนา มัธยมบุรุษ. (2558). “ประเพณีพิธีกรรมเมืองเชียงใหม่” สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เชียงใหม่, เชียงใหม่ :
บริษัทเชียงใหม่พริ้นติ้งจำกัด.

บุปผา คุณยศยิ่ง. (2532). “สืบ”. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์.

ป.หลงสมบุญ . (2540). พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพ ฯ : สำนักเรียนวัดปากน้ำจัดพิมพ์.

พัฒน์ เพ็งผลา. (2523). ประวัติวรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2537). พิธีกรรมใครว่าไม่สำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก.