รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ
พธูรำไพ ประภัสสร
วรางคณา จันทร์คง

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของผู้สูงอายุ  สภาพและปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ  และ 3) การนำรูปแบบไปใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ช่วยตนเองได้ดีหรือกลุ่มติดสังคม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในระดับชุมชน ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด  โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ   สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์เนื้อหา


     ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม ปัญหาเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาในด้านสุขภาพ การไม่มีพาหนะในการไปเข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่มีผู้พาไปเข้าร่วมกิจกรรม  และมีภารกิจในการดูแลลูกหลาน  สำหรับความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมประมาณครึ่งหนึ่งจะเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่มีโอกาส และกิจกรรมที่เข้าร่วมจะเป็นกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด  รองลงมาคือด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ทั้งนี้พบว่ารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ คือควรแบ่งบทบาทเครือข่ายชุมชนเป็นระดับตำบล และระดับกลุ่ม   จากการนำรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุไปใช้ในกลุ่มที่นำไปใช้ พบว่าทำให้ชมรมผู้สูงอายุมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในระดับมาก   

Article Details

บท
บทความ

References

เกวลี เครือจักรและ สุนทรี สุรัตน์. (2558). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการบวนการมีส่วนร่วมขององค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาสังคม และชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบล แม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. ปีที่ 3 (2), หน้า 161-171.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์

จิราพร มะโนวัง อำไพรัตน์ อัษรพรหมและเรณุการ์ ทองคำรอด. (2559). ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านป่าซางวิวัฒน์ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. ปีที่ 9 (ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม), หน้า 179-190.

บัณฑิต สร้อยคํา (2555). รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในพื้นที่ไม่มีโรงพยาบาลเป็น หน่วยบริการประจำ กรณีศึกษา อําเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประภาพร มโนรัตน์. (2556). ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง: ผลกระทบและบทบาทสังคมกับการดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม – ธันวาคม), หน้า 98-103.

ปรียานุช จันทิมา. (2554). พัฒนาการของเครือข่ายผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพของตนเองกรณีศึกษาชุมชนเขตเทศบาลเมือง อำนาจเจริญ. ปรัชญาดุษฏีนิพนธ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พงษ์ศิริ ปรารถนาดี. (2558). ชมรมผู้สูงอายุ. [Online]. Available: http://hp.anamai.moph.go.th/download. [2558, สิงหาคม 21].

พรชุลีย์ นิลวิเศษ. (2559). สุขภาวะผู้สูงอายุ. ใน จิตสังคมผู้สูงอายุ. นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [Online]. Available: http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_10.html. [2559, มกราคม 11].

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์และอนัฐฌา ปิ่นแก้ว. (2558). ความสำคัญของเครือข่ายเกื้อหนุนผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม), หน้า 109-116.

มาลี โชคเกิด. (2559). การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. ปีที่ 14 เล่มที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม),หน้า 33-44.

ยุทธนา พูนพานิช. (2557) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพโดยชุมชน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (มีนาคม – เมษายน), หน้า 161-171.

วรรณภา ศรีธัญรัตน์, ลัดดา ดำริการเลิศ. (บรรณาธิการ). (2553). การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: แนวปฏิบัติในการบริการ. นนทบุรี. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

สนธยา พลศรี. 2550. เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.

สุรพล ชัยภพ. (2550). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกำแพงเพชร. (2558). แผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร (พ.ศ.2558-2560). กำแพงเพชร: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกำแพงเพชร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล.(2560). [Online]. Available: การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_FullScreen.aspx? reportid=89&template=2R1C&yeartype=M&subcatid=56. [2560, มิถุนายน 10].

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). [Online]. Available: การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ. http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php. [2558, ธันวาคม 13].

Krejcie, R.V. & Morgan, E.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. Minnesota: Minnesota University.

Lawrence F., Jacqueline., Dori R., and Abby K. (2010). Healthy Aging and Where You Live: Community Design Relationships With Physical Activity and Body. Americans. Journal of Physical Activity and Health. 7 Issue s1, March 2010.
Russell R. Pate, Michael P., Steven N. B, et al. (1995). Physical activity and public health: a recommendation from the Centers for Disease Control and Prevention and the American College of Sports Medicine. JAMA. 1995. 273 (5): pp.402-407.

Thomas P., Elaine B., Basia B., David B., et al. (2006). Physical Activity, Public Health, and Aging: Critical Issues and Research Priorities. J Gerontol B Psychol Sci Soc Sci (2006) 61 (5): S267-S273.

United Nations. (2015). World Populaltion Ageing (report). Department of Economic and Social Affairs Population

Division. [Online]. Available: http:// www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2015_Report.pdf. [2016, April 13].