การพัฒนาผลิตภัณฑ์เปลือกกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง

Main Article Content

กฤษณกัณฑ์ ภาโพธิรัตน์

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เปลือกกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตเปลือกกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง ศึกษาอายุการเก็บรักษา และการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาพบว่าวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตเปลือกกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง ความเข้มข้นของน้ำเชื่อมในการแช่อิ่มแบบช้าร้อยละ 30 40 และ 50 โดยความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเริ่มต้นที่ระดับร้อยละ 30 ผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีลักษณะปรากฏ สี และกลิ่นได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ดังนั้นจึงเลือกวิธีการแช่อิ่มแบบช้าที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 30 โดยใช้อัตราส่วนเกลือและกรดมาลิค 3:3 ของน้ำหนักน้ำเชื่อม ในการศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เป็นเวลา 0-12 สัปดาห์ไม่ตรวจพบจุลินทรีย์เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผักและผลไม้ 161/2558 และจากการทดสอบการยอมรับในผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ การยอมรับผลิตภัณฑ์

Article Details

บท
บทความ

References

ณัฐพร รอดนิยม และปวีณ์กร ไกรยะวุธ. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์มะกรูดเชื่อม. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ) คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล-พระนคร.

ดวงสุดา เตโชติรส, จุฑา พีรพัชระ และวรลักษณ์ ปัญญาธิติพงศ์. (2552). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรด สำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด. รายงานการวิจัย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.

พิสุทธิ หนักแน่น. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของแคนตาลูปแช่อิ่มอบแห้ง. รายงานวิจัย คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

รพีพร ตลับใหม่. (2551). การพัฒนากระบวนการผลิตมะกรูดแช่อิ่มอบแห้งด้วยเทคนิคเครือข่ายใยประสาทเทียม.
ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตร ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชมณี ยืนยงพุทธกาล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการดึงน้ำออกด้วยวิธีออสโมซิสของผักและผลไม้. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). กล้วย. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559. จาก http://www.positioningmag.com/prnews/

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร). (2549). ผลไม้แช่อิ่ม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2552). ผลไม้ตัดแต่งและการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้สารละลาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559. จาก: http://www.tistr-foodprocess.net/download /article/fresh_cut_th.html

สัมฤทธิ์ โม้พวง, สุรัตน์ บุญผ่อง, เริงนภา โม้พวง และวิจิตร อุดอ้าย. (2549). การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกกล้วยและก้านเครือกล้วย. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผักและผลไม้แช่อิ่ม. มผช. 161/2558

อร่าม คุ้มทรัพย์. (2544). ผลไม้แปรรูป. กรุงเทพฯ, ห้างหุ้นส่วนจำกัดกิจศึกษาเทรดดิ้ง.

อ่อนรวี รัตรนาพันธุ์. (2533). หลักการทำแห้งผลไม้ด้วยวิธี Osmotic. 20(4): 240-245, กรุงเทพฯ.

A.O.A.C. (2000). Official Methods of Analysis of Association Official Chemists International. 16th ed. The Association of Official Analytical Chemists International. Gaitersburg.