ผลของการใช้เทคนิคการสอนคำศัพท์แบบผสมผสาน (MVET)

Main Article Content

ซิมมี่ อุปรา
สมลักษณ์ เลี้ยงประยูร
สุดารัตน์ พญาพรหม
ณัฏฐพล สันธิ
ศรชัย มุ่งไธสง

บทคัดย่อ

     ความรู้คำศัพท์คือแหล่งทรัพยากรในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและใช้ในการสื่อสาร การที่ผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจเรื่องราวในชีวิตประจำวัน มาสามารถทำความเข้าใจบทอ่าน หนังสือ หรือ วรรณกรรม เป็นผลของการขาดคำศัพท์ที่จะสามารถใช้งานได้ งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทักษะในการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้เทคนิควิธีเรียนรู้ MVET ในการเรียนรู้คำศัพท์ การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการคือ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปริมาณคำศัพท์พื้นฐาน 3000 คำของนักศึกษา เพื่อศึกษาวิเคราะห์เทคนิคในการเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจและในการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสอนคำศัพท์แบบ MVET เก็บข้อมูลจากประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาอังกฤษจำนวน 52 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศัพทวิทยาโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนที่ออกแบบโยผู้วิจัยกล่าวคือมีการนำวิธีการมาสอนในชั้นเรียนเป็นรายบทไป เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบรายการคำศัพท์พื้นฐานของ Longman จำนวน 3000 คำ แบบคำถามปลายเปิดเทคนิคการเรียนคำศัพท์และแบบคำถามความพึงพอใจในวิธีการเรียนคำศัพท์และการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหาและรายงานผลโดยวิธีพรรณนา


     ผลการวิจัยพบว่าคลังคำศัพท์พื้นฐานของผู้เรียนที่วัดโดยรายการคำศัพท์พื้นฐานเพื่อการสื่อสารจำนวน 3000 คำนั้นมีจำนวนคำในระดับต่ำ วิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของผู้เรียนใช้วิธารเรียนรู้แบบเดิมที่มีประสิทธิภาพน้อย อิงการท่องคำศัพท์จากงคำที่ง่ายไปหาคำที่ยาก ใช้วิธีการจดบันทึกเป็นรายการแล้วท่องจำคำศัพท์ การออกเสียง การฝึกออกเสียงซ้ำ ๆ และการฝึกสะกดคำ ในด้านระดับความพึงพอใจในวิธีการ และความสามารถที่เพิ่มขึ้นพบว่า ผู้เรียนมีความ กระตือรือล้นในการเรียนคำศัพท์ด้วยวิธี MVET เพราะใช้หลักการของความสอดคล้อง ผู้เรียนเริ่มมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนคำศัพท์ เพราะใช้เวลาและพลังในการเรียนคำศัพท์ใหม่ๆน้อยลงแต่ได้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น การเรียนคำศัพท์ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นภาระอีกต่อไปแต่เป็นความสนุกในการเรียน ในด้านสมรรถนะของตนเองที่เพิ่มขึ้น นักศึกษามีความพึงพอใจและเห็นผลลัพท์ในเชิงบวกที่มีต่อ

Article Details

บท
บทความ

References

Carter, R, and M. McCarthy. (1988). Vocabulary and Language Teaching (Ed.). London: Longman.

Dodd, Steven. (1993). Lexis: An Unchartered Land. In Elza S.C. Tsang (Ed)’s Studies in Lexis. The Hong Kong University of Science and Technology. Hong Kong: Language Centre.(pp. 35-47)

Jordan, R.R. (1997). English for Academic Purposes: A Guide and Resources Book for Teachers. Cambridge University Press. Pp. 149-163.

Lee, S. H. (2003). ESL learners' vocabulary use in writing and the effects of explicit vocabulary instruction.
System, 31, 537-561

Leech, G.(1981). Semantics: The study of meaning. 2nd Edition. Penguin Books.

Nattinger, James. (1988). Some Current Trends in Vocabulary Teaching. In Carter and McCarthy’s Vocabulary and Language Teaching. London: Longman. Pp. 62-82.

Oupra, S. (1998). Analysis of Words and their Semantic Field Found in the English Textbooks for Upper Secondary School Level. Unpublished Master Degree Thesis. Chiang Mai University. From

Tsang, Elza S. C. (1993). Studies in Lexis. The Hong Kong University of Science and Technology. (Ed). Hong Kong: Language Centre.

ซิมมี่ อุปรา. (2541). การวิเคราะห์คำศัพท์ในขอบข่ายความหมายและการปรากฏร่วมกันของคำศัพท์ในหนังสือแบบเรียนการอ่านในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ภาควิชามัธยมศึกษา สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.