การวิเคราะห์สุขภาพด้านการเงินของสหกรณ์การเกษตรอำเภอ ในจังหวัดเชียงราย : โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงิน

Main Article Content

โพธิ์ตะวัน ทีโยตระกูล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบสุขภาพด้านการเงินของสหกรณ์การเกษตรอำเภอในจังหวัดเชียงราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรอำเภอในจังหวัดเชียงรายจำนวน 10 แห่งที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องจากสำนักตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดเชียงรายแล้ว โดยทำการวิเคราะห์ใน 4 ด้านคือ สภาพคล่อง ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ ความสามารถในการบริหารหนี้สิน และความสามารถในการทำกำไร โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงินสามารถจำแนกความแตกต่างในสุขภาพด้านการเงินของสหกรณ์การเกษตรอำเภอในจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีสุขภาพด้านการเงินที่ดีถึงดีมากจำนวน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 70 ส่วนอีก 3 แห่งมีผลการดำเนินงานขาดทุน คิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้


     ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า สหกรณ์การเกษตรเมืองพาน จำกัด เป็นสหกรณ์ที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศหรือ Best Practice ส่งผลให้มีสุขภาพด้านการเงินอยู่ในระดับดีที่สุดโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยในทุกด้านสูงสุด รองลงมาคือสหกรณ์การเกษตรเมืองเชียงราย จำกัด แต่สหกรณ์การเกษตรเชียงแสน จำกัด มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านต่ำสุดในแต่ละด้านพบว่าอัตราสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) สหกรณ์การเกษตรเมืองเทิง จำกัด มีสภาพคล่องดีที่สุดโดยมีอัตราเงินทุนหมุนเวียนและอัตราเงินทุนหมุนเวียนเร็วสูงสุด อัตราความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ (Assets Management Ratios) สหกรณ์การเกษตรเมืองเชียงราย จำกัด มีความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ดีที่สุด โดยมีอัตราการหมุนของลูกหนี้และอัตราการหมุนของสินค้าสูงสุด รวมทั้งมีระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเก็บหนี้และมีระยะเวลาในการขายสินค้าสั้นที่สุด อัตราความสามารถในการบริหารหนี้สิน (Debt Management Ratios) สหกรณ์การเกษตรเมืองพาน จำกัด มีความสามารถในการบริหารหนี้สินได้ดีที่สุดโดยมีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำที่สุด รวมทั้งมีอัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูงสุดและอัตราความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) สหกรณ์การเกษตรเมืองพาน จำกัด มีความสามารถในการทำกำไรดีที่สุดโดยมีอัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรจากการดำเนินงาน และอัตรากำไรสุทธิสูงที่สุด รวมทั้งมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นสามัญอยู่ในเกณฑ์ดี

Article Details

บท
บทความ

References

เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์. (2556). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2554). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ : ยงพลเทรดดิ้ง.

ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2552). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.

นภาพร นิลาภรณ์กุล และคณะ. (2553). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์.

นันทนา น้อยบุญเติม. (2558).หัวหน้าสำนักตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 13 พฤศจิกายน 2558

ไพรินทร์ ชลไพศาล.(2557). สัญญาณเตือนภัยทางธุรกิจ กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมควร เอื้อวิบูลย์. (2558). การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์อิสลามด้วยเครื่องมือทางการเงินกรณีศึกษา : สหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟานจำกัด. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2558 จาก www.cad.go.th.

สมชาย สุภัทรกุลและคณะ. (2556). การบัญชีสำหรับผู้บริหารและผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์ เซ็น เตอร์.

สัญญา ชัยวงศ์. (2553). การศึกษาอัตราส่วนทางการเงินเพื่อพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงิน. วิทยานิพนธ์. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.