การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นล้านนา ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นันทิยา ตันตราสืบ

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นล้านนาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รวมถึงปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีผลต่อการบริโภคอาหารพื้นถิ่นล้านนาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยวด้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำผลจากการศึกษาที่ได้ไปปรับปรุงและเสนอกิจกรรมทางด้านการท่องเที่ยวด้านอาหารพื้นถิ่นล้านนาแก่ร้านอาหาร ชุมชน ตามแนวนโยบายการสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบวิถีไทย วิถีล้านนา ของจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถามแบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่ ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ข้อมูลด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นถิ่นล้านนา ปัจจัยด้านการตลาดและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวด้านอาหาร โดยมีการตรวจสอบทดสอบความเที่ยงตรงและความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความสอดคล้องก่อนเก็บรวบรวมข้อมูล


     ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวพบว่า สัดส่วนของผู้ที่เคยรับประทานอาหารพื้นถิ่นล้านนามีจำนวน 266 คนคิดเป็นร้อยละ 66.5 ซึ่งมีมากกว่าผู้ที่ไม่เคยรับประทานเลยมีจำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 33.5 โดยผู้ที่เคยรับประทานมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ควรรับประทานอาหารที่มาจากแหล่งผลิตดั้งเดิมมีจำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ72.2 ส่วนเมนูอาหารพื้นถิ่นล้านนายอดนิยมคือ “ ข้าวซอย ” มีผู้เลือกตอบร้อยละ 46 ของจำนวนผู้เคยรับประทานอาหารพื้นถิ่นล้านนา สำหรับปัจจัยด้านการตลาดที่สำคัญพบว่า ปัจจัยด้านกระบวนการโดยเฉพาะด้านวัตถุดิบของอาหารต้องมีคุณภาพดีมีผลต่อนักท่องเที่ยวมากที่สุด นอกจากนี้ในเรื่องของกิจกรรมการท่องเที่ยวด้านอาหารนักท่องเที่ยวยังคงให้สำคัญเกี่ยวกับความผูกพันอันดีระหว่างตัวนักท่องเที่ยวกับคนในท้องถิ่นที่ไปเยือน

Article Details

บท
บทความ

References

กมลวรรณ ขำจิตร. (2554). การส่งเสริมการตลาดของร้านอาหารไทยสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษาจังหวัด
พิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นุกูล อินทกูล. (2558). กระบวนการขับเคลื่อนร้านอาหารในจังหวัดเชียงราย เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพร้านอาหารใน ประเทศไทย.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 8 ฉบับพิเศษ ตุลาคม-ธันวาคม 2558. 47-67.สืบค้นเมื่อ
5 สิงหาคม 2559, จาก https://social.crru.ac.th/ejournal/Flip8_4/#p=57.

ศิวพร ฟูเกริกเกียรติ. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองภาคเหนือในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.
การค้นคว้าอิสระ (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติภัทท์ ศรีวิไลทนต์. (2554). ความพึงพอใจในการเลือกใช้ร้านอาหารนอกบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ
(บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Tanya MacLaurin, Julia Blose and Rhonda Mack .(2007). Segmenting the Culinary Tourism Market: An American
and Australian Comparison. Retrieved 26th July 2014, from www.gcbe.us/.../Rhonda%20Mack,%20Julia% 20Blose,%20Tanya%20M.