หลักความได้สัดส่วนกับการกำหนดเอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครอง ในสัญญาทางปกครอง

Main Article Content

นิสา สุริยะคำวงศ์

บทคัดย่อ

   สัญญาที่ฝ่ายปกครองทำขึ้น อาจเป็นสัญญาทางแพ่ง หรือสัญญาทางปกครองก็ได้ ซึ่งสัญญาทางปกครอง มีองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งคือ ต้องเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดให้เอกสิทธิ์แก่คู่สัญญาฝ่ายปกครอง โดยข้อสัญญาที่ให้เอกสิทธิ์แก่คู่สัญญาฝ่ายปกครองดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่คู่สัญญาฝ่ายปกครองไม่อาจละเลยได้ เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งการใช้อำนาจรัฐเพื่อจัดทำบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งข้อกำหนดที่ให้เอกสิทธิ์แก่คู่สัญญาฝ่ายปกครอง ยังเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความเป็นสัญญาทางปกครอง และช่วยทำให้หลักเกณฑ์ของ “สัญญาทางปกครองโดยสภาพ” มีความชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย
   แต่อย่างไรก็ดี การกำหนดเอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครองในสัญญาทางปกครองนั้น ก็มีปัญหาต้องพิจารณาว่ามีหลักเกณฑ์อันเป็นขอบเขตหรือข้อจำกัดในการกำหนดเอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครองลงในข้อสัญญาหรือไม่ อย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการได้เอกสิทธิ์ในระดับใด จึงจะถือได้ว่าทำให้สัญญานั้นเป็นสัญญาทางปกครอง เพราะถ้าฝ่ายปกครองสามารถกำหนดข้อสัญญาที่ให้เอกสิทธิ์แก่ฝ่ายตนได้อย่างไม่มีขอบเขตข้อจำกัด ก็อาจมีผลเป็นการขยายหลักเกณฑ์ความเป็นสัญญาทางปกครองออกไปอย่างกว้างขวางจนทำให้สัญญาที่ฝ่ายปกครองทำขึ้นกลายเป็นสัญญาทางปกครองแทบทั้งหมด และท้ายที่สุดก็อาจทำให้การวินิจฉัยแบ่งแยกสัญญาทางแพ่ง และสัญญาทางปกครอง เกิดความไม่ชัดเจนขึ้นมาได้
   ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ศึกษาค้นคว้าหาหลักเกณฑ์อันเป็นขอบเขตหรือข้อจำกัดการกำหนดเอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครองในสัญญาทางปกครอง เพื่อให้สัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายของไทยมีความชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น และจากการศึกษาพบว่า การใช้อำนาจรัฐขององค์กรทั้งหลาย ย่อมมีขอบเขตข้อจำกัดและต้องถูกตรวจสอบได้ ฉะนั้น เมื่อการกำหนดเอกสิทธิ์ในสัญญาทางปกครองเป็นรูปหนึ่งของการใช้อำนาจรัฐ ฝ่ายปกครองจึงไม่อาจกำหนดเอกสิทธิ์ไว้ในสัญญาได้ตามอำเภอใจ โดยจะต้องอยู่ในบังคับของหลักความได้สัดส่วน เนื่องจากหลักความได้สัดส่วนเป็นหลักกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น หลักกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองก็ได้รับพัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดของหลักความได้สัดส่วน และศาลปกครองได้นำหลักความได้สัดส่วนไปใช้วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในทุกขั้นตอน ทั้งกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา การปฏิบัติตามสัญญา และผลของสัญญา ด้วยเหตุนี้ การนำหลักความได้สัดส่วนมาใช้เป็นข้อจำกัดในการกำหนดเอกสิทธิ์ของคู่สัญญาฝ่ายปกครอง จึงเป็นหลักการทั่วไปที่ผูกพันฝ่ายปกครองให้ต้องปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลที่เป็นธรรมต่อประโยชน์สาธารณะและสิทธิของเอกชนคู่สัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Banjerd Singkaneti and Somsak nuatrakunpisut. 1999. Essentially the proportion of German law and of France. Constitutional Court journal 1 (2) : 40-70. .

Borwornsak Uwanno. 1986. A promise by France. Administrative law journal 5 : 73 – 120.

Bubpha Akarapiman. 2002 . Administrative contract Concepts and principles of French and Thai law. Bangkok: Office of the Administrative Court.

Bubpha Akarapiman. The effect of administrative agreements in the French legal system. http://www.admincourt.go.th/ 00_web/09_academic/document/03_technical_ papers/ talsanya. pdf. 14 November 2015.

Charnchai Sawangsagdi and Manit Wongsaree. 1998. Introduction to administrative and administrative contract. Bangkok : imprint a person with common sense.

Chatree Silapa. 2010. The administrative contract unlawful. forensic MSC thesis : Thammasat University.

M.Phillippe MARTIN. The cases asked to revoke the administrative and litigation about administrative contract. http://www.admincourt.go.th/00_web/document/ 03_technical/09_ academic _papers/perktorn20080610.pdf. 14 November 2015. .

Surapon Nitikraipot. 2012. Administrative contracts . Bangkok : Thammasat University Press. .

Weerapong Buengkrai. 2011. Some considerations regarding administrative contracts in the Thai legal system. Journal of Justice 4 (2) : 33 - 40.

Worjate Phakeerat. 2011. General Administrative Law. Bangkok: Nitirat Publisher

ชาตรี ศิลาภา. 2553. สัญญาทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญชัย แสวงศักดิ์ และมานิตย์ วงศ์เสรี. 2541. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิติกรรมทางปกครองและสัญญาทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์. 2542. หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 1(2) : 40 - 70.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. 2529. สัญญาทางปกครองฝรั่งเศส. วารสารกฎหมายปกครอง 5 : 73 -120.

บุบผา อัครพิมาน. 2545. สัญญาทางปกครอง แนวคิดและหลักกฎหมายของฝรั่งเศสและของไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศาลปกครอง .

บุบผา อัครพิมาน. ผลของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายฝรั่งเศส. http://www.admincourt.go.th/ 00_web/09_academic/document/03_technical_ papers/talsanya. pdf. 14 พฤศจิกายน 2558.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. 2554. กฎหมายปกครองภาคทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติราษฎร์.

วีระพงษ์ บึงไกร. 2554. ข้อควรพิจารณาบางประการเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายไทย. วารสารกระบวนการยุติธรรม 4 (2) : 33 - 40.

สุรพล นิติไกรพจน์. 2555. สัญญาทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

M.Phillippe MARTIN. คดีฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมทางปกครองและคดีที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง. http://www.admincourt.go.th/00_web /09_ academic/ document/ 03_technical _papers/perktorn20080610.pdf. 14 พฤศจิกายน 2558.