พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ขัตติยา ราชา

บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในการใช้บริการร้านอาหารฮาลาล ในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในการเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาร้านอาหารฮาลาลให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในการเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในจังหวัดภูเก็ต
   ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในการเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในจังหวัดภูเก็ต จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิม จำนวน 400 ชุด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับประทานอาหารประเภทอาหารทะเล จำนวน 183 คน ร้อยละ 45.8 ใช้บริการร้านอาหารด้วยเหตุผลรับประทานอาหาร จำนวน 172 คน ร้อยละ 40.9 สมาชิกในครอบครัวเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลด้วยการตัดสินใจเอง จำนวน 195 ร้อยละ 48.8 ไปใช้บริการร้านอาหารฮาลาลกับ สมาชิกในครอบครัว จำนวน 222 คน ร้อยละ 55.5 ส่วนใหญ่ใช้บริการร้านอาหารฮาลาล ช่วงเวลา 18:00 - 20:00 น. จำนวน จำนวน 287 คน ร้อยละ 71.7 สั่งอาหารครั้งละ 3–4 อย่าง จำนวน 262 คน ร้อยละ 65.5 ใช้เวลาในการใช้บริการร้านอาหารฮาลาล นาน 1 - 2 ชั่วโมง จำนวน 276 คน ร้อยละ 69.0 โดยเฉลี่ยจ่ายเงินค่าอาหารต่อครั้งเป็นจำนวนเงินประมาณ 1,001–1,500 บาท จำนวน 149 คน ร้อยละ 37.2 แหล่งข้อมูลจากสื่อทางสังคมออนไลน์ จำนวน 193 คน ร้อยละ 48.3 2) ปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในจังหวัดภูเก็ต จากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลากร(People) ด้านลักษณะทางกายภาพ(Physical Evidence) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ด้านกระบวนการให้บริการ (Process) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ตามลำดับ
   แนวทางการพัฒนาร้านอาหารฮาลาลในจังหวัดภูเก็ตเพื่อบริการนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิม ได้แก่ 1) การพัฒนาด้านบุคลากร ควรพัฒนาด้านความรู้เกี่ยวกับหลักศาสนาอิสลาม และความเข้าใจถึงวัฒนธรรม รวมทั้งการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์และการบริการ รวมถึงความสุภาพเรียบร้อย มารยาท ความกระตือรือร้น และความรวดเร็วในการให้บริการ 2) การพัฒนา ด้านกายภาพ ควรมีห้องละหมาดเพื่อการปฏิบัติศาสนกิจ โดยแยกผู้หญิง ผู้ชาย เป็นสัดส่วนชัดเจน และมีลูกศรบอกทิศละหมาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริการในการปฏิบัติศาสนกิจ ห้องอาหารและห้องน้ำควรจัดแบ่งอย่างถูกสุขลักษณะ มีระบบการทำความสะอาดที่ดี ควรมีป้ายติดเรื่องของกฎข้อห้ามทางศาสนา โดยเฉพาะการนำสุนัข และสุราเข้ามาในร้านอาหารฮาลาล 3) การกำหนดราคาของสินค้าและบริการที่เป็นมาตรฐาน และการแสดงราคาให้เห็นชัดเจน รวมทั้งความคุ้มค่าของราคาต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และ การบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ASEAN Economic Community. (2012). Knowledge of the ASEAN Economic Community. Retrieved February 28,
2015, from: http://www.thai-aec.com/41.


Chanin O et. al., (2013). The Halal Tourism Potential Development Project in the Andaman Sea Of Thailand.
Songkhla: Rajamangala University of Technology Srivijaya.

Cochran W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: Jonh Wiley & Sons. Inc.

Dayi D. (2014). Tourism Service Use Behavior of Middle Eastern Tourists in Bangkok. (Master's thesis). Bangkok:
Bunditpatana Administration Institute science.

Halal Standards Institute of Thailand. (2012). Halal food Standards. Retrieved January 9, 2016, from: http://www.//halalinfo.ifrpd.ku.ac.th/index.php/en/general/91-halal- content/89-halal-standard-content-th.

Phuket Tourism. (2016). Tourism information. Retrieved July 15, 2016, from: http://www.Phuket.go.th/webpk /
contents.php? str = travel.

Yumadine A. (1990). Factors Affecting the Decision to Use Muslim Restaurant in Surat Thani Province. Master of
Business Administration Thesis Business Administration Program. Surat Thani: Surat Thani University.

การท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. (2559). ข้อมูลการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.phuket.go.th/webpk/
contents.php?str=travel.

ดาลีซะห์ ดะยี. (2557). พฤติกรรมการใช้บริการการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลางในเขตกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. องค์ความรู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2555). สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.
thai-aec.com/41.

สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย. (2555). มาตรฐานอาหารฮาลาล. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2559, จาก http://www.//
halalinfo.ifrpd.ku.ac.th/index.php/th/general/91-halal-content/89-halal-standard-content-th.

อรพรรณ จันทร์อินทร์ และคณะ. (2556). โครงการการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวฮาลาลฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย.
สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อาลิสา ยุมาดีน. (2533). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารมุสลิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี.