การวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างข้อความการกล่าวขอโทษในภาษาไทย ในภาษาพูดและภาษาเขียน

Main Article Content

ปิยมาส พุ่มกล่อม

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างข้อความการกล่าวขอโทษในภาษาไทยในภาษาพูดและภาษาเขียนในสถานการณ์ความผิดที่มีระดับความผิดที่แตกต่างกัน
   ผลการวิเคราะห์โครงสร้างข้อความทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียนพบว่าโครงสร้างข้อความการกล่าว ขอโทษประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบหลัก คือ กลุ่มคำและวลีขอโทษ และองค์ประกอบ รองคือ วลีที่ปรากฏในข้อความ โครงสร้างของ การกล่าวขอโทษที่พบในงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ ได้แก่ 1) โครงสร้างเฉพาะองค์ประกอบหลัก 2) โครงสร้างเฉพาะองค์ประกอบรอง 3) โครงสร้างองค์ประกอบหลักนำองค์ประกอบรอง 4) โครงสร้างองค์ประกอบหลัก ตามด้วยองค์ประกอบรองและองค์ประกอบหลัก 5) โครงสร้างองค์ประกอบรองนำองค์ประกอบหลัก 6) โครงสร้างองค์ประกอบรอง ตามด้วยองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรอง 7) โครงสร้างองค์ประกอบรองตามด้วยองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรอง องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรอง
   ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รูปแบบโครงสร้างข้อความแตกต่างกัน ภาษาพูดมีการใช้รูปแบบโครงสร้างของข้อความซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลักหรือองค์ประกอบรองเพียงส่วนเดียว รวมทั้งองค์ประกอบรองต่าง ๆ เรียงลำดับกัน อย่างไม่เป็นระบบ ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างข้อความในภาษาเขียน ที่มีความซับซ้อน และมีการเรียงลำดับองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้สถานการณ์ความผิดเป็นปัจจัยรองลงมาที่ส่งผลต่อการกล่าวขอโทษในภาษาไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Burusphat S. (1994). Word Analysis: Text Level Language Analysis. Bangkok: Sahamaha Company Limited.

Holmes J. (1995). Women, Men and Politeness. Longman: London and New York.

Mekthawornwattana T. (1998). Speech Committee Apology in Thai. Master of Arts Thesis Programlinguistics,
Bangkok: Chulalongkorn University.

ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา. (2541). วัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์,
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). วจนะวิเคราะห์: การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.