การบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3

Main Article Content

พรพรรณ เนตรขำ
ชญาดา วรรณภิระ
รัชพล ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จังหวัดเชียงราย ประชากรของการวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนที่ได้รับมอบหมายงานในหน้าที่กรรมการวิชาการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ปฏิบัติหน้าที่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ทั้ง 10 โรงเรียน มี ผู้บริหาร 36 คน และครูผู้สอน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัยพบว่า  การบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดเชียงราย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.87) รองลงมา คือ ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ มีค่าเฉลี่ยระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.80) และด้านการประเมินผลหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.75)  ตามลำดับ

ปัญหาการบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่า โรงเรียนยังไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ได้กำหนดได้ทั้งหมด  (ความถี่ = 5) ครูยังขาดการทำวิจัย และพัฒนาหลักสูตร (ความถี่ = 15) ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ต่ำ (ความถี่ = 23)

ข้อเสนอแนะการบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่า ควรจัดทำแผนพัฒนาผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ความถี่ = 12) ควรจัดการนิเทศการใช้หลักสูตรของครูอย่างเป็นระบบ (ความถี่ = 20) และควรจัดโครงการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของผู้เรียนให้เกิดการใช้งานจริง (ความถี่ = 5)

 แนวทางการบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่า การวางแผนจะต้องมีความชัดเจนในหลักสูตรมาตรฐานสากล พัฒนาหลักสูตรตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนด การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องตรงตามเจตนารมณ์ และนำเทคนิคบันได 5 ขั้นในใช้ในรายวิชาอื่น เน้นภาษาต่างประเทศที่ 2 มีความเข้าใจในความหลากหลาย การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และการประเมินผลหลักสูตรเน้นการบริหารจัดการระบบคุณภาพ (TQA) 

 

Curriculum Management in World Class Standard School of the
Secondary Educational Service Area Office 36

This research aimed to study the situation, problems, suggestions, and a guideline for curriculum administration of schools participating world-class standard school project of the Secondary Educational Service Area Office 36. The target population were school administrators and teachers who were academic committee of schools participated the world-class standard school project during the first semester of 2014 academic year included 36 school administrators and 90 teachers. Research instrument was questionnaire. Subsequently, collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation.

The findings revealed that the curriculum administration of schools participating the world-class standard school project of the Secondary Educational Service Area Office 36, in the overall, was the highest level (mean = 4.75). When considered in each aspect, it was found that the curriculum planning was the highest level (mean = 4.87), the curriculum use was also the highest level (mean = 4.80), and the curriculum evaluation was the highest level (mean = 4.75), respectively.

The problems for curriculum administration of schools participating world-class standard school project were indicated that students could not be developed according to objectives of the curriculum planning (frequency = 5). Moreover, teachers were less research and development (frequency = 15). In addition, student achievement of communicating in Thai, English and other languages was low (frequency = 23).

The suggestions for curriculum administration of schools participating world-class standard school project were specified that the curriculum should be planed for development of the learners and focused on the learners as the importance (frequency = 12). Furthermore, supervision on curriculum use should be systematically and regularly provided to the teachers (frequency = 20). Last but not least, the project for promoting communicating skills of the learners should be held (frequency = 5).

The guidelines for curriculum administration of schools participating world-class standard school project were mentioned that the curriculum plan should be clear in standard-based curriculum; the curriculum should be developed according to the regular basis from the office of the National Education Commission; the use of curriculum should be directed to intention; 5L technique should be applied in other subjects; the second foreigner language should be emphasized; the diversity should be understood; technology should be used appropriately; and curriculum evaluation should base on Total Quality Assessment.

Article Details

บท
บทความ