ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

รัชพล ศรีธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่  อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติไค-สแควร์  (Chi–Square) ดัชนี GFI (Goodness of Fit Index) ดัชนี AGFI (Adjusted Goodness of Fit Index) ทั้งก่อนปรับและหลังปรับโมเดล ดัชนี RMR (Root Mean Squared Residual) ดัชนี RMSEA ดัชนี Standardized Residual กราฟ Q–Plot และโมเดลแสดงอิทธิพลของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พร้อมทั้งตารางแสดงผลอิทธิพลรวม (Total Effect) อิทธิพลทางตรง (Direct Effect) และอิทธิพลทางอ้อม (Indirect Effect)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในเขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย ด้านองค์การ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการความรู้ ด้านเทคโนโลยี สรุปได้ว่าศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในเขตเศรษฐกิจชายแดนทุกองค์ประกอบมีศักยภาพอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ

2.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจัยการปฏิบัติเชิงการบริหาร ปัจจัยบรรยากาศและวัฒนธรรมของสถานศึกษา ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ ปัจจัยเป้าหมายและข้อมูลย้อนกลับการปฏิบัติงาน ปัจจัยโครงสร้างของสถานศึกษา ปัจจัยการปฏิบัติเชิงการบริหาร ปัจจัยการพัฒนาบุคคลและทีมงาน ปัจจัยการพัฒนาบุคคลและทีมงาน ปัจจัยเทคโนโลยีและระบบงาน ปัจจัยวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ และปัจจัยแรงจูงใจ มีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดเชียงราย

 

Factors affecting the enhancement of School Potentiality as Learning Organizations along the Chiangrai Border Economic Corridor

This research aimed to study the potential of learning organization and also the factors which affected the state of learning organizations along the Chiangrai Border Economic Corridor. Research instruments included a series of questionnaires; and the obtained data were analyzed in terms of frequency, percentage, Chi-Square, Goodness of Fit Index (GFI), Adjusted Goodness of Fix Index (AGFI) before and after application of the model, Root Mean Squared Residual (RMR) Index, RMSEA Index, Standardized Residual Index, Q-Plot Graph, and the model illustrating the influence of the factors affecting the capabilities of the educational institutions as learning organizations, together with the table showing Total Effect, Direct Effect, and Indirect Effect.

The findings of the study were as follows:

1.  The potentiality of school as learning organizations along the Chiangrai Bordering Economic Corridor in the aspects of organization, leadership, learning, knowledge management, and technological management appeared that both the potentiality as learning organizations and the factors affecting these potentiality were ranked at a high level in every components.

2.  Factors affecting the enhancement of school potentiality as learning organizations along the Chiangrai Border Economic Corridor were the educational management, atmosphere and culture, academic leadership, goal and feedback, work operation and team work, infrastructure, personnel and team work development, technology and system, vision, mission and strategies, and motivation which directly impacted upon the potentiality enhancement of schools as learning organization.

Article Details

บท
บทความ