การพัฒนารูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกัน ยาเสพติด สำหรับเยาวชนของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5

Main Article Content

อรรณพ กาวิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชน ของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชนของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชน ของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5 และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการนำรูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชนของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์สถานีตำรวจในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 260 คน จาก 108 สถานีตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เป็นแบบสอบถามตำรวจชุมชนมวลชน ใช้รวบรวมข้อมูลกับตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์เกี่ยวกับสภาพปัญหา การถ่ายทอดความรู้และวิจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชนของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค จากตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน

รูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชนของตำรวจชุมชนมวลสัมพันธ์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5ที่พัฒนาขึ้น คือรูปแบบและกระบวนการ “NICE POLICE” มีองค์ประกอบ ที่สำคัญแบ่งออกเป็น องค์ประกอบใหญ่ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ NICE ประกอบด้วยN (Narcotic Knowledge) เป็นส่วนที่มุ่งให้มีการศึกษาค้นคว้ารวบรวม องค์ความรู้ด้านยาเสพติด ในทุกมิติ I (Information) หมายถึง องค์ความรู้ ทักษะ วิธีการถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ รวมถึงการวิเคราะห์นโยบายของหน่วยงานบังคับบัญชาเพื่อลงสู่การปฏิบัติ C (CentralCommunicationAgencies) คือ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5เป็นหน่วยงาน ูนย์น่วยงานกลางเชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานบังคับบัญชากับตำรวจชครงการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนศูนย์กลาง พัฒนาการศึกษาตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ และ E (Education) คือให้ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ดำเนินการจัดการฝึกอบรม และส่งเสริมให้ตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ มีโอกาสได้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเองในส่วนที่สอง คือ POLICE เป็นกระบวนการ หลังจากการที่ได้รับการศึกษาอบรมจากศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5แล้ว ตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์นำองค์ความรู้ที่ได้รับลงสู่กระบวนการปฏิบัติ โดยอาศัยแนวคิด แสวงหาการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย P (PlanParticipate)คือ การวางแผนการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในชุมชน O (Organize) คือ การวางระบบงาน L (Learning) คือ การ ดำเนินการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับเยาวชน I (Integrate) คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันบูรณาการการทำงานร่วมกันของแต่ละภาคส่วนในชุมชน C (Connect) คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ ของชุมชน เข้ากับชุมชนอื่นๆ และสังคมภายนอก และ E (Evaluation) คือ การประเมินผล การแก้ไขปรับปรุง และการรายงานผลการปฏิบัติ

 

Development of Model and Procedure in Knowledge Transfer of Drugs Prevention for the Youth of Police Community Relations Unit of Provincial Police Region 5.

The purposes of this study were: 1) to study state and problems of knowledge transfer of drugs prevention for the youth of police community relations unit; 2) to investigate factors affecting effectiveness of knowledge transfer of drugs prevention for the youth of police community relations unit; 3) to develop and evaluate the appropriateness of model and procedure of drugs prevention for the youth of police community relations unit; and 4) to formulate policy recommendations for implementing model and procedure of knowledge transfer of drugs prevention for the youth of police community relations unit. The sample group included 260 police community relations officers from 108 police stations in 8 provinces of Upper North Thailand. Research instruments were: 1) questionnaire aiming at investigating the relationship between police community relations unit and the problems of knowledge transfer of drugs prevention for the youth; 2) workshop using SWOT technique as a means to collect the data regarding strengths, weaknesses, opportunities, and threats of knowledge transfer of drugs prevention for the youth from stakeholders including police community relations officers, school administrators, teachers, parents, and community leaders.

NICE POLICE was the developed model and process in knowledge transfer of drugs prevention for the youth of community and public relations police officers under jurisdiction of Provincial Police Region 5. The model held two components, that is, NICE. As acronym, the “N” stands for Narcotic Knowledge meaning collective and multi-dimensional study of knowledge about narcotic drugs. The “I” stands for “Information” meaning bodies of knowledge, skills, knowledge transfer methods, information from various sources, and an analysis of policies of commanding unit for practical application. The “C” stands for “Central Communication Agency” meaning the Training Centre of Provincial Police Region 5 as the central agency for developing the knowledge of Community and Public Relations Police Officers. The “E” stands for “Education” meaning the Training Centre of Provincial Police Region 5 would provide training and support for Community and Public Relations Police Officers, giving them opportunities for learning and self-development. The second component was “POLICE” referred to a process in which, after the training, Community and Public Relations Police would bring their knowledge gained from the training into practice and seek for participation from the community. The process included the “P” which stands for “Plan and Participate” meaning planning and cooperating with all sectors in the community. The “O” stands for “Organize” meaning organizing the work in systematic manner. The “L” stands for “Learning” meaning the process of knowledge transfer of drugs prevention to the youth. The “I” stands for “Integrate” meaning unity and blend all units in a unified body. The “C” stands for “Connect” meaning networking ability to connect units in the community to other communities and the outside world. The “E” stands for “Evaluation” meaning evaluating, amending, and reporting performance outcomes.

Article Details

บท
บทความ